ปัจจุบันยาต้านไวรัส HIV ได้ถูกพัฒนาจากสูตรยาต้านเดิมที่เคยใช้เมื่อ 10-20 ปีก่อนไปมากแล้วครับ โดยในประเทศไทยเองก็มีสูตรยาใหม่ ๆ ซึ่งหลายสูตรที่ใช้แล้วมีประสิทธิภาพควบคุมไวรัส HIV ได้ดี แถมยังมีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยมาก ๆ
ปรึกษา รักษา HIV
ยาต้านไวรัส HIV ที่ใช้บ่อยๆ และวิธีการใช้
ยาต้าน HIV ที่เราใช้กันบ่อยๆ ในปัจจุบัน มีทั้งแบบรวมเม็ด หรือแยกเม็ด อันได้แก่
- ยาต้าน HIV Biktarvy หนึ่งเม็ดวันละครั้ง ยา original จาก Gilead ผู้นำในการผลิตยาต้านไวรัส โดยมีผลข้างเคียงน้อย และกินแค่หนึ่งเม็ดวันละครั้ง ไม่มึนหัว และไม่มีผลข้างเคียงต่อไตและกระดูกในระยะยาว
- ยาต้าน HIV Kocitaf หนึ่งเม็ดวันละครั้งเช่นกัน โดยเป็นยาจากบริษัท Mylan ประเทศอินเดีย ซึ่งส่วนประกอบถือว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับ Biktarvy และผลข้างเคียงน้อยแทบจะไม่ต่างกัน ตัวนี้เนื่องจากไม่ใช่ยา original จึงมีข้อได้เปรียบเรื่องราคาที่ต่ำลงมา
- ยาต้าน HIV Acriptega หนึ่งเม็ดวันละครั้ง ตัวนี้เป็นยาที่ประเทศไทยนำมาใช้แทนยาต้านไวรัสสูตรประจำชาตินั่นคือ Teevir (ยา original คือ Atripla) โดยผลิตจาก Mylan ของประเทศอินเดียเช่นกัน ข้อได้เปรียบของ Acriptega ต่อ Teevir คือไม่มีอาการมึนหัวแล้ว แต่ก็ยังคงมียา TDF ซึ่งเป็นยาที่อาจทำให้เกิดปัญหากับไตหรือกระดูกเมื่อกินในระยะยาว โดยยา 2 ตัวแรกที่กล่าวไปนั้น (Biktarvy และ Kocitaf) ได้มีการปรับจาก TDF เป็น TAF ไปแล้วซึ่งทำให้หมดปัญหาตรงจุดนี้ไป
- ยาต้าน HIV Dolutegravir อันนี้ถือเป็นยาตัวเดียว (single drug) เหมาะสำหรับคนที่ไม่เกี่ยงว่าจะต้องกินยาเกินหนึ่งเม็ดต่อวัน เพราะยา dolutegravir ต้องเอาไปรวมกับยาต้านไวรัสอีกอย่างน้อย 1 ชนิด ส่วนใหญ่จะเลือกให้กินคู่กับ lamivudine หรือ rilpivirine (ชื่อทางการค้า Edurant) คนที่เชื่อเรื่องที่ว่าถ้ากินยาน้อยกว่า ผลข้างเคียงก็น้อยกว่าในระยะยาวก็อาจจะสนใจสูตรนี้เพราะสามารถใช้ยาแค่สองชนิด (two-drug regimen) เท่านั้นก็สามารถควบคุมไวรัสได้ดีเท่ากันกับสูตรที่ใช้ยาต้านไวรัสสามชนิด
ปรึกษาเรื่องยาต้าน HIV
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญที่ glove clinic เพื่อปรึกษาว่าสูตรยาใดเหมาะกับท่านโดยทำนัดหมายผ่าน inbox, Line Official @gloveclinic (มีแอดข้างหน้า) หรือโทรสอบถาม 092-4149254 ได้ในเวลาทำการ (1000-1900h, คลินิกเปิดทุกวัน)
ปรึกษา รักษา HIV
รีวิวยาต้านไวรัส HIV (สูตรเก่า)
ในบทความที่แล้วเราได้รีวิว ยาต้าน HIV ในยุคปัจจุบัน ครั้งนี้เราจะมารีวิว ยาต้าน HIV ที่ใช้บ่อยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมาบ้างครับ โดยเราจะแยกยาต้านไวรัสเป็นสามกลุ่มใหญ่ เพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น
สูตรยาต้าน HIV รวมเม็ด 1 เม็ดวันละครั้ง (Teevir, Trustiva)
แน่นอนว่าพระเอกเบอร์หนึ่งตลอดกาลของยาต้านไวรัสในช่วงก่อนปี 2010 จนถึงปี 2020 ก็คือ Teevir หรือที่หลายคนเรียกยาตัวนี้ว่า “ยานางฟ้า” โดยยาสูตรนี้เป็นยา generic ของ Atripla ซึ่งการค้นพบ Atripla ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทยาสามารถผลิตยาต้านไวรัสสามชนิดให้รวมอยู่ในเม็ดเดียวและกินแค่วันละครั้งได้ ซึ่งถือว่าเป็นการพลิกโฉมหน้าของการรักษาเอชไอวีโดยสิ้นเชิง ซึ่งแต่ก่อนต้องกินยากันเป็นกำมือ เนื่องจากกินแค่หนึ่งเม็ดวันละครั้งจึงทำให้ประสิทธิภาพการรักษาค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับยาต้านไวรัสตัวอื่น ๆ และผลข้างเคียงก็ต้องบอกว่าดีกว่ายาตัวที่ใช้กันมาก่อน โดยพบไขมันเคลื่อนย้าย (lipodystrophy) ได้น้อยกว่าสูตรในยุค 90 อยู่มาก อย่างไรก็ดีผลข้างเคียงของ Atripla หรือ Teevir ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ ก็คือปัญหาเรื่องการนอน, ฝันร้าย, อารมณ์แปรปรวน ซึ่งเป็นผลจากส่วนประกอบที่ชื่อ efavirenz โดยอาจพบได้สูงถึง 10-15% ของคนที่กินยาสูตรนี้และทำให้คนไข้กลุ่มหนึ่งจำเป็นต้องหนีไปใช้ยาสูตรอื่น
สูตรยาต้าน HIV สองเม็ดวันละครั้ง (Ricovir-EM หรือ Teno-EM กินคู่กับ Edurant)
เนื่องจากปัญหาเรื่องมึนหัวและฝันร้ายที่พบได้จาก efavirenz ยาในยุคต่อมาจึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อลดผลข้างเคียงนี้ โดยยาหลักที่เข้ามาแทนที่ efavirenz ก็คือ rilpivirine หรือชื่อทางการค้าว่า Edurant พอรวมร่างเข้ากับโครงหลัก (backbone) ของ Teevir ซึ่งก็คือ tenofovir และ emtricitabine โดยในต่างประเทศมีสูตรนี้รวมกันในเม็ดเดียวชื่อ Complera แต่ในประเทศไทยไม่มี Complera จำหน่าย คนไข้จึงต้องกินยาแยกเม็ดโดยกิน Edurant 1 เม็ดรวมร่างกับ Ricovir-EM หรือ Teno-EM (ยา original คือ Truvada) ซึ่งก็คือยาที่รวม tenofovir และ emtricitabine เข้าด้วยกัน หลายคนที่กินยา PrEP น่าจะรู้จักยาสองตัวนี้ดี โดยที่ข้อจำกัดของยาสูตรนี้ก็คือจำเป็นต้องกินยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเนื่องจาก rilpivirine หรือ Edurant นั้นต้องการกรดในกระเพาะอาหารเพื่อช่วยดูดซึมให้ระดับยาสูงเพียงพอที่จะคุมไวรัสอยู่ได้
ยาต้าน HIV โบราณที่อาจถูกลืมเลือนกันไป (Neravir)
ที่เอายาตัวนี้มาเขียนถึงเพราะตัวเองยังมีคนไข้ที่กิน nevirapine หรือ Neravir อยู่พอสมควรโดยยาตัวนี้นั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกับ efavirenz และ rilpivirine (NNRTI) จริง ๆ แล้ว nevirapine นั้นเกิดมาก่อน efavirenz ด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากคนไข้ที่ CD4 สูงเกิน 300-400 โดยช่วงที่เริ่มยาอาจจะเกิดแพ้ยารุนแรง (hypersensitivity) ได้ แต่ว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุนี้อยู่เพียงแค่ในช่วงเดือนแรกของการกินยาเท่านั้น ดังนั้นถ้าเริ่มกินแล้วปลอดภัยก็คือกินต่อไปได้เลย ข้อดีของ nevirapine ก็คือแทบไม่มีผลข้างเคียงต่อสมองและสภาพจิตใจอย่างที่พบในคนไข้ที่กิน efavirenz นอกจากนี้ยังเป็นยาที่ราคาค่อนข้างถูก คนไข้กินแล้วไม่แพ้ก็จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนยา ส่วนข้อเสียก็คือยาต้องกินครั้งละสองเม็ดวันละครั้ง โดยต้องกินคู่กับยา backbone ทำให้คนไข้จะกลายเป็นกินยาสามเม็ดวันละครั้งได้
ยาสูตรเก่าไม่ได้แปลว่าเป็นยาที่ไม่ดี เราจำเป็นต้องพิจารณาสูตรยาให้เหมาะสมกับคนไข้ ไม่ว่าจะด้วยโรคร่วม, จำนวนเม็ดยา, วิถีชีวิต, เศรษฐานะ คนไข้ที่กินยาสูตรเก่าแล้วไม่มีผลข้างเคียงก็ไม่ได้จำเป็นต้องอัพเกรดให้เป็นยาสูตรใหม่เสมอไป ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ที่รักษาเพื่อทำความเข้าใจกับยาต้านไวรัสกันนะครับ