Search
Close this search box.

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ / Thin Prep PAP smear

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม (พ.ศ. 2558) ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทราบว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเท่ารักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม

วิธีตรวจคัดกรองที่รู้จักกันดี ได้แก่ การตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear test) ซึ่งเป็นการตรวจดูเซลล์ผิดปกติที่อาจเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจแปปสเมียร์นั้นสามารถให้ผลลบลวงได้ เนื่องจากบางครั้งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจอาจซ้อนทับกัน มีเลือด หรือมูกปนเปื้อน ทำให้เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วไม่เห็นความผิดปกติ

ปัจจุบันมีวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid-based cytology: LBC) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test หรือ Cy-Prep) เรียกตามยี่ห้อน้ำยาที่ใช้ตรวจ วิธีนี้สามารถเก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากขึ้น ชัดขึ้น ทำให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65%

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) การตรวจ ThinPrep Pap Test ก็ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาว่า เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบมาตรฐานอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ดั้งเดิม

ใช้เวลาตรวจประมาณ 15-20 นาที และรู้ผลภายใน 3 สัปดาห์หลังวันเก็บตัวอย่างเซลล์

ความจริงแล้วทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบแปปสเมียร์และแบบ LBC หรือที่รู้จักกันในชื่อ ThinPrep Pap Test นั้นเป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน แต่การตรวจแบบหลังเป็นวิธีที่ใหม่กว่า และมีข้อที่เหนือกว่าการตรวจคัดกรองแบบแปปสเมียร์ดังนี้
1. เก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากกว่า ลดปัญหาการเก็บตัวอย่างมาไม่เพียงพอสำหรับตรวจวิเคราะห์
2. ในกระบวนการตรวจ มูกและเลือดจะถูกกำจัดออกไป ลดปัญหาสิ่งบดบังเซลล์ ทำให้เห็นตัวอย่างเซลล์ชัดเจนขึ้น
3. ลดอัตราการเกิดผลลบลวง
4. นักเซลล์วิทยาใช้เวลาแปลผลสั้นกว่า
5. สามารถนำสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลวไปตรวจหาเชื้อ HPV ต่อได้ ไม่ต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีตรวจเซลล์วิทยา ทั้งแบบแปปสเมียร์ดั้งเดิมและ Liquid-based cytology ดังนี้
1. ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 30 ปี และตรวจซ้ำทุกๆ 2-3 ปี
2. หากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง ไม่มีรอยโรคที่ปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Cervical Intraepithelial Neoplasia: CIN) ไม่มีประวัติได้รับการรักษามะเร็งปากมดลูก และไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเว้นระยะการตรวจซ้ำออกเป็นทุกๆ 3-5 ปี
3. ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี ที่ 10 ก่อนหน้านั้นตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ และผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง สามารถหยุดตรวจได้ ยกเว้นว่ายังมีเพศสัมพันธ์หรือมีคู่นอนหลายคน ควรตรวจคัดกรองต่อไปตามปกติ
4. ผู้หญิงที่ตรวจพบว่ามีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Severe combined immunodeficiency disease: SCID) ใน 1 ปีแรกควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน หลังจากนั้นควรตรวจคัดกรองปีละ 1 ครั้ง
5. ผู้หญิงที่ตัดมดลูกพร้อมกับปากมดลูกออกแล้ว และไม่มีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรอง (แต่ควรรับการตรวจภายในเพื่อหาโรคทางนรีเวชอื่นๆ)
6. ผู้หญิงที่เคยรักษามะเร็งปากมดลูก หรือรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก ยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นซ้ำ จึงควรตรวจติดตามตามความถี่ที่แพทย์กำหนด และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปีจนครบ 20 ปี

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้
1. ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
2. ผู้หญิงทั่วไปที่มีเพศสัมพันธ์
3. ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
4. ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป
5. ผู้หญิงที่มีพฤติกรรม หรือโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น สูบบุหรี่ เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ
6. ผู้หญิงที่มีตกขาวผิดปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติ
7. ผู้หญิงที่เว้นว่างการตรวจมาระยะหนึ่ง
8. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

มีข้อแนะนำและข้อห้ามที่คุณควรทราบ เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างราบรื่นและให้ผลแม่นยำที่สุด ดังนี้
1. ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือตรวจช่วง 5-7 วันหลังประจำเดือนหมด
2. ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม เจลหล่อลื่น หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
3. ห้ามสวนล้างช่องคลอด หรือมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง

ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง

ควรตรวจ เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ทุกสายพันธุ์ มะเร็งปากมดลูกแม้จะเป็นโรคร้าย แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ผู้หญิงทุกคนจึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากโรคนี้แน่

หากท่านสนใจเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ผู้หญิง) หรือตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนัก (ผู้ชาย) โดยการตรวจ Thin prep ราคา 1,500 บาท ท่านสามารถนัดหมายผ่านทาง Line Official @gloveclinic หรือโทรศัพท์เข้ามาได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 092-414-9254

Relate content :

422894572_706683161447546_1749712271998229747_n

ฉีดวัคซีนงูสวัดที่ glove clinic

S__2465807

ทอนซิลอักเสบจากเริม

03_service

ตรวจ HIV รีวิวความรู้สำหรับการตรวจเอชไอวี (HIV test)

เอชไอวีคือไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, แล...
S__2236423

ปีนี้มีคนไข้ป่วยด้วยไข้เลือดออกมากกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา

S__14558014_0

HIV แต่กำเนิด

ประเด็นร้อนที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ที่มีข้อความของนักศึกษาหญิงเปิด...
partial view of biochemist holding test tubes with blood samples

อาการของเอดส์เป็นอย่างไร ทำความรู้จักกับเอดส์

แท้จริงแล้วเอดส์ไม่ใช่โรค หากแต่คือระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV ซึ่ง HIV นั่นเอ...

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save