294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
แค่ภายนอกออรัลกันเฉยๆ ติดซิฟิลิสได้ !

หลายคนงงว่าได้ซิฟิลิสมาได้ยังไงทั้งที่ตัวเองใส่ถุงป้องกันอย่างดี ความเป็นจริงซิฟิลิสนั้นติดง่ายมากโดยเฉพาะระยะที่สอง (secondary syphilis) เคยมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเพียงแค่การมีออรัลเซกส์อย่างเดียวกับคนที่มีเชื้อซิฟิลิส ก็ทำให้มีโอกาสติดซิฟิลิสถึง 10-15%
เกร็ดที่น่าสนใจเกี่ยวกับซิฟิลิส
- เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์ของเชื้อซิฟิลิสนั้น อาจจะต้องย้อนไปหลายร้อยปีโดยจุดเริ่มต้นของการระบาดครั้งใหญ่เกิดในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 15 ในยุโรปขณะที่กองทัพของฝรั่งเศสบุกเข้าเมืองเนเปิลส์ของอิตาลี หมอของอิตาลีในขณะนั้นตรวจพบทหารฝรั่งเศสที่ป่วยด้วยอาการตุ่มหนองขึ้นกระจายตามร่างกายซึ่งไม่เหมือนกับโรคเรื้อนหรือโรคเท้าช้างที่เคยรู้จักมาก่อน
- ก่อนที่จะชื่อว่าซิฟิลิสนั้น การเรียกชื่อโรคก็เป็นไปตามความเกลียดชังของคนในสมัยนั้น เช่น คนอิตาลี, คนอังกฤษ, คนเยอรมันในสมัยนั้นก็จะเรียกโรคนี้ว่า French disease หรือโรคของคนฝรั่งเศส ในขณะที่คนฝรั่งเศเองก็จะเรียกโรคนี้ว่า Neapolitan disease หรือโรคของชาวเนเปิลส์ เป็นต้น
- ชื่อโรคซิฟิลิสนั้นถูกเรียกจากหนังสือนิยายที่แต่งขึ้นในปีค.ศ. 1530 เรื่อง Syphilus sive Morbus Gallicus โดยกวีชาวอิตาลีโดยตัวเอกในเรื่องชื่อ Syphilus ถูกสาปโดยเทพเจ้า Apollo ให้เป็นโรคที่น่าอับอายโดยตั้งชื่อโรคนี้ในหนังสือว่า syphilis ตามชื่อตัวเอกในเรื่อง
- เชื้อซิฟิลิสถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1905 โดยแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน 2 คน (Erich Hoffmann และ Fritz Schaudinn) โดยพบแบคทีเรียที่เป็นรูปทรงขดม้วนจากผื่นที่ช่องคลอดของคนไข้ที่มีซิฟิลิสในระยะที่สอง (secondary syphilis)
- ยาเพนนิซิลลินซึ่งถูกค้นพบโดย Alexander Fleming ได้ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาหลักของซิฟิลิสมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1943 จนกระทั่งปัจจุบัน
- ซิฟิลิสเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคค่อนข้างช้า โดยซิฟิลิสในระยะแรก (primary syphilis) นั้นเกิดหลังจากได้รับเชื้อ 3-4 อาทิตย์ (เฉลี่ย 10-90 วัน) โดยคนไข้อาจมีแผลตรงทางเข้าของเชื้อ และมักจะเป็นแผลขอบเรียบและไม่เจ็บ ดังนั้นแผลอาจจะเกิดได้ที่ริมฝีปาก, อวัยวะเพศ, หรือรูทวารหนักก็ย่อมได้ คนไข้หลายรายอาจไม่รู้สึกว่าเป็นแผลด้วยซ้ำไปจึงทำให้ไม่ได้มาตรวจรักษา
- ซิฟิลิสในระยะที่สอง (secondary syphilis) มักเกิดหลังได้รับเชื้อไปเป็นเวลา 2-3 เดือน ระยะนี้คนไข้มักจะมีผื่นนูนแดงกระจายตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายลักษณะที่ค่อนข้างจำเพาะของผื่นที่เกิดจากซิฟิลิสคือผื่นมักจะปรากฏที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ซึ่งในระยะที่สองนี้คนไข้อาจจะมีไข้หรือต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยเนื่องจากเป็นระยะที่เชื้อมีจำนวนมากในร่างกาย ทั้งยังสามารถแพร่กระจายให้คนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยค่อนข้างง่ายถึงแม้ว่าจะมีแค่ออรัลเซ็กส์ก็ตาม
- หลังจากนั้นซิฟิลิสสามารถหลบซ่อนอยู่ในร่างกายโดยไม่แสดงอาการได้เป็นระยะเวลาหลายปี ดังนั้นการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อซิฟิลิสแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่มีอาการ จึงยังมีความสำคัญมากในคนที่มีความเสี่ยง
- ซิฟิลิสระยะที่สาม (tertiary syphilis) มักจะเกิดเมื่อมีเชื้อซิฟิลิสมานานแล้วไม่ได้รักษาโดยในระยะนี้เชื้อซิฟิลิสสามารถเข้าไปในสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง (neurosyphilis) ทั้งยังสามารถทำให้เกิดจอตาอักเสบ หรือการอักเสบของเส้นเลือดแดงใหญ่ได้ ซึ่งระยะนี้จะเป็นระยะที่อันตรายเนื่องจากไปกระทบอวัยวะสำคัญ และยังรักษาได้ยากอีกด้วย
- เนื่องจากซิฟิลิสเป็นเชื้อที่ติดได้ง่ายจากเพศสัมพันธ์แถมยังอาจไม่แสดงอาการ ในปัจจุบันจึงเริ่มมีการใช้ยาปฏิชีวนะชื่อ doxycycline ซึ่งเป็นยาที่สามารถใช้รักษาซิฟิลิสและยังมีผลข้างเคียงที่ต่ำ โดยนำเอา doxycycline มาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสหลังมีเพศสัมพันธ์และเรียกกันว่า Doxy-Pep
.
นอกจากนั้นเมื่อได้รับเชื้อซิฟิลิสมาแล้วก็มักจะไม่มีอาการ ทำให้เราควบคุมการระบาดได้ยาก การตรวจเลือดสกรีนหาเชื้อซิฟิลิสเป็นระยะ (ทุก 3-6 เดือนขึ้นกับความเสี่ยง) จะทำให้เรามั่นใจและสามารถรักษาโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
ปรึกษาเรื่องซิฟิลิสเพิ่มเติมได้ที่โกลฟคลินิกนะครับ
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ