294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

6 คำถามเกี่ยวกับ HPV Vaccine (วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่)

คำถาม 1: วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบ 4 ชนิดต่างกับแบบ 9 ชนิดยังไงบ้าง? [1]

คำตอบ 1: ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่าเชื้อ HPV (Human papillomavirus) มีมากกว่า 100 สายพันธุ์บนโลกนี้ แต่จะมีแค่บางสายพันธุ์เท่านั้นที่ทำให้เกิดมะเร็งหรือหูด โดยวัคซีนที่ผลิตขึ้นถูกสร้างมาให้ป้องกันสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งหรือหูดได้บ่อย ไม่ได้ผลิตมาป้องกันทุกสายพันธุ์ของเชื้อ

ชนิดของวัคซีนQuadrivalent (4vHPV)9-Valent (9vHPV)
ป้องกันเชื้อ HPV ชนิดใดบ้าง6, 11, 16, 186, 11, 16, 18, 31, 33 45, 52, 58

สายพันธุ์ที่มักทำให้เกิดเป็นมะเร็ง คือ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58  ส่วนสายพันธุ์ที่มักทำให้เกิดหูดหงอนไก่ คือ 6, 11

คำถาม 2: เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังฉีดทันมั้ย?

คำถาม 2: ถ้ายังไม่เคยฉีดเลย การฉีดวัคซีนก็ยังได้ประโยชน์มากกว่าการไม่ฉีดถึงแม้ว่าจะเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ทั้งในผู้หญิง ผู้ชาย และกลุ่ม LGBTQ+[1]

คำถาม 3: เคยเป็นหูดหงอนไก่แล้วหรือกำลังรักษาหูดหงอนไก่อยู่ ฉีดวัคซีน HPV ได้มั้ย ฉีดแล้วจะเป็นหูดซ้ำหรือไม่

คำถาม 3: ฉีดได้ มีงานวิจัยบางอันพบว่าการฉีดวัคซีน HPV ช่วยทำให้การรักษาหูดหงอนไก่เป็นไปได้ง่ายขึ้น[5] แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยเพียงพอในการสรุปว่าการฉีดวัคซีน HPV แล้วจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหูดซ้ำ[6]

คำถาม 4: ทำไมฉีดวัคซีน HPV แล้วยังมีหูดขึ้นที่มือ เท้า หน้า แขน ขาได้?

คำตอบ 4: เพราะว่า HPV สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดที่บริเวณดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ 1, 2, 3, 4, 10, 27, 57 ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นวัคซีน [4]

คำถาม 5: ฉีดแล้วยังต้องไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมั้ย (Pap smear)?

คำตอบ 5: ต้องไป โดยยังแนะนำให้ผู้หญิงตั้งแต่อายุ 21 ปีจนถึง 65 ปี ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปีละ 1 ครั้ง ไม่ว่าจะได้รับวัคซีนหรือไม่ได้รับวัคซีน HPV ก็ตาม [2, 3]

คำถาม 6: ฉีดวัคซีน HPV 2 เข็มแรกไปแล้ว แต่ลืมไปฉีดเข็มสุดท้าย ต้องเริ่มใหม่หมดตั้งแต่เข็มแรกมั้ย?

คำถาม 6: ไม่ต้องเริ่มใหม่ ฉีดต่อได้เลยทันทีที่นึกได้ แต่ควรเป็นวัคซีนแบบเดียวกับที่เคยฉีด เช่น ถ้าเคยฉีดแบบ 9 ชนิด ก็ควรฉีด 9 ชนิดแบบเดิม[1]

อ้างอิง

  1. Petrosky E, Bocchini JA Jr, Hariri S, et al. Use of 9-valent human papillomavirus (HPV) vaccine: updated HPV vaccination recommendations of the advisory committee on immunization practices. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2015;64(11):300-304.
  2. Saslow D, Solomon D, Lawson HW, et al. American Cancer Society, American Society for Colposcopy and Cervical Pathology, and American Society for Clinical Pathology screening guidelines for the prevention and early detection of cervical cancer. J Low Genit Tract Dis 2012;16:175–204.
  3. Moyer VA; US Preventive Services Task Force. Screening for cervical cancer: US Preventive Services Task Force recommendation statement. Ann Intern Med 2012;156:880–91, W312.
  4. Kang S, Kang S. Fitzpatrick’s Dermatology. New York: McGraw-Hill Education; 2019.
  5. Choi H. Can quadrivalent human papillomavirus prophylactic vaccine be an effective alternative for the therapeutic management of genital warts? an exploratory study. Int Braz J Urol. 2019;45(2):361-368. doi:10.1590/S1677-5538.IBJU.2018.0355
  6. Husein-ElAhmed H. Could the human papillomavirus vaccine prevent recurrence of ano-genital warts?: a systematic review and meta-analysis. Int J STD AIDS. 2020;31(7):606-612. doi:10.1177/0956462420920142

เขียนและเรียบเรียงโดย พญ.วิภาวัน วัธนะนัย

Make Appointment

Relate content :

การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง

อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ

ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน

ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน

ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ ยาต้าน HIV หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี คือกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทำไมต้องใช้ยาต้าน HIV ยาต้าน HIV ทำงานอย่างไร ยาต้าน HIV ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไวรัสเอชไอวีต้องการในการเพิ่มจำนวนตัวเอง เมื่อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ประเภทของยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น: การใช้ยาต้าน HIV ร่วมกับยาอื่นๆ ยาต้าน HIV บางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดก่อนเริ่มรับประทานยาต้าน HIV ผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ยาต้าน HIV อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปเอง หรือสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือเปลี่ยนชนิดยา การใช้ยาต้าน HIV ชีวิตหลังการเริ่มใช้ยาต้าน HIV การใช้ยาต้าน HIV…

โรคหนองใน: ภัยเงียบที่คุณไม่ควรเพิกเฉย

โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะเพศ ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก

ตรวจ HIV: ก้าวแรกสู่สุขภาพที่ดี

HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ การตรวจ HIV เป็นวิธีที่ง่ายและไม่เจ็บปวด สามารถช่วยให้คุณรู้สถานะสุขภาพของคุณได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำไมต้องตรวจ HIV? วิธีการตรวจ HIV ผลการตรวจ HIV หากผลการตรวจ HIV เป็นบวก การรู้ว่าผลการตรวจ HIV เป็นบวก อาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ขอให้คุณรู้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว และมีทางออกเสมอ การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเริ่มการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยืดอายุขัยได้ เมื่อได้รับผลตรวจ HIV เป็นบวก คุณควร: การรักษา HIV ปัจจุบันมียาต้านไวรัส HIV ที่สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพได้ ยาต้านไวรัส HIV จะช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตหลังการตรวจพบ HIV การใช้ชีวิตกับ HIV อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพที่ดี คุณสามารถมีชีวิตที่ปกติได้ การดูแลสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ติดเชื้อ…

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save