294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

ไวรัสตับอักเสบ เอ (Viral hepatitis A)

ถึงแม้ว่าโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ จะไม่ใช่โรคที่รุนแรงหรือโรคเรื้อรัง แต่ก็เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย จากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป วิธี การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอคือการรักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ขับถ่ายในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และล้างมือให้สะอาดก่อนไปหยิบจับอาหารหรือดื่มน้ำ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้เพื่อป้องกัน การแพร่ของเชื้อ การฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 1-2 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปแนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 ปี โดยฉีด 2-3 ครั้ง และวัคซีนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้นานกว่า 20 ปี โรคตับอักเสบจากไวรัสพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยโรคตับอักเสบจากไวรัสเอ จะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป การติดเชื้อมักจะไม่ปรากฏอาการ มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากมีอาการเล็กน้อย โดยไม่มีอาการเหลือง แต่สามารถวินิจฉัยได้โดยการทดสอบการทำงานของตับ อัตราป่วยตายร้อยละ 0.1 -0.3 ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี พบอัตราป่วยตายร้อยละ 1.8 ส่วนโรคตับอักเสบจากไวรัสบี พบได้ทั้งในเด็กเล็ก ซึ่งมักไม่มีอาการ จนกระทั่งถึงเด็กโตและผู้ใหญ่ที่อาจมีอาการรุนแรงขึ้น ติดต่อได้ทั้งทางเลือดและเพศสัมพันธุ์ 

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย หน้าที่ของตับเริ่มตั้งแต่ขณะที่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ตับ ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ตับจะพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลงหน้าที่บางประการ โดยหน้าที่ของตับที่สำคัญมีมากมายหลายอย่าง เช่น หน้าที่เก็บสำรองอาหาร เป็นแหล่งสร้างพลังงานความร้อน เป็นแหล่งสร้างสารที่จำเป็นต่างๆ ได้แก่ สร้างน้ำดี สังเคราะห์วิตามิน สังเคราะห์สารที่ทำให้เลือดแข็งตัว เป็นต้น ตับอักเสบ เป็นภาวะที่เซลตับถูกทำลาย การถูกทำลายของเซลตับเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการติดเชื้อซึ่งเป็นได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตชัว หรือเซลตับอาจถูกทำลายจากสาเหตุอื่น ได้แก่ จากพิษของสุรา ยาบางชนิด รวมถึงสารเคมี การที่เซลตับถูกทำลายจะทำให้การทำหน้าที่ต่างๆ ของตับบกพร่องไปเกิดภาวะที่ร่างกายเจ็บป่วยและไม่สบายตามมา 

สาเหตุ

  1. สาเหตุของตับอักเสบที่พบบ่อยที่สุดสำหรับประเทศไทย ได้แก่ ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ บี ซี ดี อี และจี แต่ละชนิดจะมีวิธีการติดต่อและแพร่เชื้อที่แตกต่างกัน
  2. ไวรัสตับอักเสบเอ และอี สามารถแพร่เชื้อได้ทางอาหาร น้ำดื่ม ผัก ผลไม้ รวมถึงสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจากนั้นระบบสุขอนามัยที่ไม่ดี เช่น การขับถ่ายอุจจาระลงแหล่งน้ำ เป็นสาเหตุที่สำคัญมากของการระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และอี ไวรัสตับอักเสบทุกชนิด สามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือดได้ ไวรัสตับอักเสบบี ซี ดี และจี แพร่เชื้อทางเพศสัมพันธุ์ ทางมารดาสู่ทารก ทางการได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด การใช้ของมีคมร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ การสัก การเจาะหู การฝังเข็ม เป็นต้น
  3. ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (HAV) เป็น RNA virus เป็นสมาชิกตระกูล picornaviridae ติดต่อจากคนสู่คนโดยเชื้อเข้าสู่ปาก เชื้อจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยซึ่งพบระดับสูงสุดในสัปดาห์แรกหรือสอง สัปดาห์ก่อนเริ่มแสดงอาการ และลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากตับเริ่มแสดงการทำงานลดลงหรือเริ่มแสดงอาการ พร้อมกับพบภูมิคุ้มกันในกระแสโลหิต การระบาดของโรคนี้มักจะเกิดจากแหล่งโรคร่วมโดยสัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อ ในน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนจากผู้เตรียมอาหารที่เป็นพาหะของโรค รวมทั้งรับประทานอาหารที่ไม่ได้ทำให้สุกหรือมีการจับต้องอาหารภายหลังปรุง สุก รวมทั้งนม สลัด หอยปรุงไม่สุก ที่เก็บจากน้ำบริเวณที่ปนเปื้อนเชื้อ
  4. ระยะฟักตัว 15-50 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 28-30 วัน จากการศึกษาการติดต่อในคน และหลักฐานทางระบาดวิทยาชี้ชัดว่า ระยะเวลาที่จะเกิดการติดเชื้อได้สูงสุดอยู่ในช่วงครึ่งหลังของระยะฟักตัว จนถึงประมาณ 2-3 วัน หลังจากเริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือในช่วงของจุดสูงสุดของระดับเอนไซม์ตับในเลือดในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการตัว เหลืองตาเหลือง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหมดระยะติดต่อของโรคหลังจากมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองไป แล้ว 1 สัปดาห์

อาการ

  1. อาการของผู้ป่วยตับอักเสบแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย ในบางคนจะมีอาการตัวเหลือง ตาขาวเป็นสีเหลืองร่วมด้วย หรือ บางคนจะมีอาการมากกว่านั้น เช่น เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ปวดท้องที่ตำแหน่งชายโครงด้านขวา ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด อาจพบว่ามีอาการคันตามผิวหนัง หรือผื่นลมพิษก็เป็นได้
  2. ภาวะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ มักปรากฏอาการในเด็กโตและผู้ใหญ่มากกว่าในเด็กเล็ก ผู้ป่วยมักสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสต่อไปในระยะยาว และหายจากโรคอย่างสมบูรณ์โดยไม่เป็นพาหะเรื้อรัง ปัจจุบันมีการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอในเด็กแรกเกิด
  3. โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคตับอักเสบจะมีไข้นำมาก่อน ร่วมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ต่อมาจะเริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าเป็นโรคดีซ่าน นั่นเอง ถ้ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดเอ หรือที่เดิมเรียกว่า infectious hepatitis สามารถติดต่อโดยทางระบบทางเดินอาหาร กล่าวคือโดยการกินอาหาร ดื่มนม หรือน้ำที่เปื้อนอุจจาระของคนที่มีเชื้อโรคนี้ เช่นเดียวกับโรคบิด อหิวาต์ ไทฟอยด์ ดังนั้นจึงสามารถแพร่กระจายโรคได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบ้านเรา ซึ่งการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเรื่องส้วม และน้ำดื่มยังไม่ดี บางครั้งอาจพบเป็นโรคระบาดได้ ระยะฟักตัวของตับอักเสบชนิดเอ 15-45 วัน โดยเฉลี่ย 30 วัน ซึ่งนับว่าสั้นกว่าชนิดบี
  4. ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอับเสบบี มักไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในเด็ก ส่วนใหญ่หายได้เอง ส่วนน้อยกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังและเป็นพาหะของโรคหรือมีภาวะตับแข็ง ปัจจุบันมีการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด สำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ไม่ค่อยพบภาวะการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ กลายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรัง นำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ เป็นสาเหตุที่สำคัญของตับอักเสบที่เกิดภายหลังการได้รับเลือดหรือส่วนประกอบ ของเลือด ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี
  5. ไวรัสตับอักเสบดีเป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบบี ไม่สามารถพบชนิดเดียวได้ แต่สามารถก่อให้เกิดอาการตับอักเสบที่รุนแรงมากกว่าชนิดอื่น ส่วนไวรัสตับอักเสบอี ยังไม่พบว่ามีการระบาดในประเทศไทย แต่มีการระบาดอย่างหนักแล้วในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น พม่า อินเดีย บังคลาเทศ จึงเป็นไวรัสตับอักเสบที่ควรมีแผนการเฝ้าระวัง เนื่องจากมีการเดินทางเข้าประเทศของประชากรประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้เป็น จำนวนมาก

การวินิจฉัย

  1. ปัจจุบันมีวิธีตรวจสอบหาเชื้อไวรัสตับอักเสบหลายวิธี ทั้งตรวจระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีอาการ ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบหรือไม่
  2. ตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิด IgM ต่อไวรัสตับอักเสบ เอ (IgM anti HAV) ในน้ำเหลืองที่เก็บทันทีหรือขณะป่วย สามารถตรวจพบได้ใน 5-10 วันหลังติดเชื้อ และพบจนถึง 6 เดือนหลังเริ่มป่วย ร่วมกับการตรวจพบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น 4 เท่าหรือมากกว่าในน้ำเหลืองที่เจาะ 2 ครั้ง โดยวิธี RIA หรือ ELISA
  3. ใช้หลักฐานทางระบาดวิทยาช่วยในการวินิจฉัยโรค
  4. สำหรับ IgG anti-HAV ก็จะตรวจพบในช่วงต้นของการติดเชื้อและคงอยู่ตลอดไปซึ่งจะป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต 

การรักษา

  1. การรักษาโรคตับอักเสบ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบ คือ หลีกเลี่ยงยารับประทานที่อาจทำให้ภาวะตับอักเสบ โดยทั่วไปรักษาตามอาการ หลีกเลี่ยงยารับประทานที่อาจนำให้ภาวะตับอักเสบรุนแรงขึ้น นอนพักผ่อนให้มาก เมื่อผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ภูมิต้านทานโรคในร่างกายจะเพิ่มขึ้น อาการป่วยไข้ที่เป็นอยู่ก็จะดีขึ้นในไม่ช้า
  2. ส่วนมากโรคมักจะหายเป็นปกติ โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นตับอักเสบชนิดเอ ส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบชนิดบีหรือซี และมักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคอื่น ๆ เช่น หัวใจวาย เบาหวาน มะเร็ง โลหิตจางรุนแรง เป็นต้น อยู่ก่อน โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงกับทำให้เสียชีวิตในเวลารวดเร็ว ซึ่งพบได้น้อยมาก ได้แก่ ตับอักเสบชนิดร้ายแรง ซึ่งเซลล์ของตับถูกทำลายจนเนื้อตับเสียเกือบทั้งหมด ผู้ป่วยจะมีอาการตาเหลืองจัด บวม และหมดสติ ประมาณร้อยละ10 ของผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบชนิดบี อาจกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะมีอาการอ่อนเพลียและตาเหลืองอยู่นานกว่า 6 เดือน ถ้าเป็นชนิดคงที่ อาการจะไม่รุนแรงและมักจะหายได้เป็นปกติภายใน 1-2 ปี แต่ถ้าเป็นชนิดลุกลาม ก็อาจกลายเป็นโรคตับแข็งได้ แพทย์สามารถแยกชนิดคงที่ออกจากชนิดลุกลามได้ด้วยการเจาะเอาเนื้อตับพิสูจน์
  3. พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิดบีหรือซีแบบเรื้อรัง หรือเป็นพาหะของเชื้อชนิดบีหรือซีอยู่นาน 30-40 ปีขึ้นไป อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ 

การป้องกัน

  1. เชื้อไวรัสตับอักเสบเป็นเชื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตความเป็น อยู่ทั่วไปของมนุษย์ เชื้อสามารถปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำและอาหารของมนุษย์ เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จากการดำรงชีวิตตามธรรมชาติ จากแม่สู่ทารก จากการใช้เข็มฉีดยาในผู้ติดยาเสพติด การฝังเข็ม หรือแม้แต่ในวงการเสริมความงาม เช่น การสัก การเจาะหู การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่นที่มีเชื้อในกระแสเลือด เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ รวมถึงการรับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดจากผู้บริจาค
  2. แนวทางการป้องกัน ได้แก่ น้ำดื่มควรได้รับการต้มให้เดือดเป็นเวลา 20 นาที ก่อนใช้บริโภคเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิดจะตายที่ความร้อน 100 องศาเซลเซียส อาหารควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มาจากแหล่งน้ำทั้งสัตว์และพืช
  3. ผู้ประกอบอาหารต้องรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือ หรือสวมถุงมือขณะประกอบอาหารแหล่งผลิตอาหารสดต้องได้รับการควบคุม เช่น การสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เป็นต้น
  4. ให้ความรู้แก่ประชาการในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้อยู่อาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือในแหล่งที่ระบบสุขอนามัยไม่ดี ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยา หรือมารดาที่ตั้งครรภ์ เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงวิธีการติดเชื้อ
  5. สถานพยาบาล หน่วยงาน รวมถึงบ้านอยู่อาศัย ควรมีการควบคุมแหล่งแพร่เชื้อ โดยเฉพาะเลือด น้ำลาย สิ่งขับถ่าย และเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วย สำหรับเข็มฉีดยา เข็มเจาะเลือดโดยต้องทำลายฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี โดยการเผา การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความดัน การอบแห้งที่ 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือการต้มเดือด เป็นเวลา 20 นาที
  6. การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบในเลือดผู้บริจาคทุกยูนิต
  7. การให้ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือการฉีดวัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 2 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี สามารถให้ได้ในผู้ที่ยังไม่เคยคิดเชื้อมาก่อน โดยก่อนการให้วัคซีนต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และตรวจเลือดเพื่อดูว่าเคยได้รับเชื้อมาก่อนหรือมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วหรือ ไม่ ถ้ายังไม่เคยติดเชื้อหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกันจึงจะให้วัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบีที่ให้ในทารก ตั้งแต่แรกเกิด 

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ http://www.bangkokhealth.com/health/article/ไวรัสตับอักเสบเอ-792

Make Appointment

Relate content :

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ ยาต้าน HIV หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี คือกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทำไมต้องใช้ยาต้าน HIV ยาต้าน HIV ทำงานอย่างไร ยาต้าน HIV ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไวรัสเอชไอวีต้องการในการเพิ่มจำนวนตัวเอง เมื่อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ประเภทของยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น: การใช้ยาต้าน HIV ร่วมกับยาอื่นๆ ยาต้าน HIV บางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดก่อนเริ่มรับประทานยาต้าน HIV ผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ยาต้าน HIV อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปเอง หรือสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือเปลี่ยนชนิดยา การใช้ยาต้าน HIV ชีวิตหลังการเริ่มใช้ยาต้าน HIV การใช้ยาต้าน HIV…

โรคหนองใน: ภัยเงียบที่คุณไม่ควรเพิกเฉย

โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะเพศ ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก

ตรวจ HIV: ก้าวแรกสู่สุขภาพที่ดี

HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ การตรวจ HIV เป็นวิธีที่ง่ายและไม่เจ็บปวด สามารถช่วยให้คุณรู้สถานะสุขภาพของคุณได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำไมต้องตรวจ HIV? วิธีการตรวจ HIV ผลการตรวจ HIV หากผลการตรวจ HIV เป็นบวก การรู้ว่าผลการตรวจ HIV เป็นบวก อาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ขอให้คุณรู้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว และมีทางออกเสมอ การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเริ่มการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยืดอายุขัยได้ เมื่อได้รับผลตรวจ HIV เป็นบวก คุณควร: การรักษา HIV ปัจจุบันมียาต้านไวรัส HIV ที่สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพได้ ยาต้านไวรัส HIV จะช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตหลังการตรวจพบ HIV การใช้ชีวิตกับ HIV อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพที่ดี คุณสามารถมีชีวิตที่ปกติได้ การดูแลสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ติดเชื้อ…

ฉีดวัคซีนงูสวัดที่ glove clinic

งูสวัดคือไวรัสชนิดหนึ่ง (Herpes zoster) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับอีสุกอีใส (Varicella zoster) เมื่อเราติดเชื้อไวรัสอีสุกใสในวัยเด็กแล้ว ไวรัสสามารถที่จะหลบซ่อนได้ในร่างกายเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่งเมื่อร่างกายอ่อนแอ ไวรัสนั้นจึงออกมาทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำใส ปวดแสบร้อนตามบริเวณที่เส้นประสาทต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเรียกกันว่างูสวัด . ไวรัสงูสวัดสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อของเส้นประสาทตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาการของงูสวัดนั้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแสบร้อนนำมาก่อน โดยอาการดังกล่าวก็คืออาการเส้นประสาทอักเสบจากไวรัสงูสวัดนั่นเอง . หลังจากอาการปวดแสบร้อน ก็จะมีตุ่มน้ำใสขึ้นตรงบริเวณที่ปวด ระยะนี้เชื้อสามารถแพร่กระจายให้ผู้อื่นได้ โดยถ้าผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสทันเวลา ก็จะทำให้ตุ่มน้ำขึ้นไม่มาก และสามารถลดระยะเวลาของอาการปวดได้อีกด้วย โดยอาการปวดเส้นประสาทหลังติดเชื้อไวรัสงูสวัดนั้นสามารถเป็นเรื้อรัง และจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดปลายประสาทในการรักษาเป็นเวลานานจนกว่าอาการจะดีขึ้นได้ . วัคซีนงูสวัด (Shingrix) สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถป้องกันการปวดปลายประสาทที่เกิดหลังการติดเชื้องูสวัดได้อีกด้วย โดยประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนงูสวัด (Shingrix) นั้นสูงอย่างน้อย 90 % และระดับภูมิคุ้มกันต่องูสวัดหลังฉีดวัคซีนจะอยู่ไปนานอย่างน้อย 7 ปีหลังจากที่ฉีด . คำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ได้ตั้งแต่เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรังที่อาจทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อได้ง่าย โดยการฉีดวัคซีนงูสวัด…

ทอนซิลอักเสบจากเริม

ทอนซิลอักเสบจากเริม เริมหรือ herpes simplex เป็นไวรัสที่ติดต่อได้จากการการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่มีเชื้อเริมมักจะไม่มีอาการ และไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อ และอาจมีตุ่มน้ำใสแตกเป็นแผลเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ อาการที่พบบ่อยคือตุ่มน้ำมาที่บริเวณริมฝีปาก หรือที่บริเวณอวัยวะเพศ.โดยในรายที่รับเชื้อเริมจากออรัลเซ็กส์ ก็อาจจะทำให้เกิดแผลที่ทอนซิล มีอาการเหมือนทอนซิลอักเสบจนเป็นหนองได้ ตัวอย่างทอนซิลในภาพนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้และเจ็บคอมากหลังจากมีเพศสัมพันธ์มา 4-5 วัน โดยได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจากหมอหูคอจมูกมาหนึ่งสัปดาห์แล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้มา swab PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ glove clinic ผลตรวจพบเชื้อ Herpes simplex virus type 2.เชื้อเริมสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส ในรายนี้หลังกินยาต้านไวรัสแล้วพบว่าหนองที่คอลดลงอย่างรวดเร็วหลังกินยาไปเพียง 2-3 วัน (ดังภาพ) รวมทั้งอาการเจ็บคอดีขึ้นมากเป็นลำดับ.การตรวจ PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นการตรวจที่แม่นยำ และสามารถตรวจหาเชื้อก่อโรคได้หลายเชื้อในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหนองในแท้, หนองในเทียม, เริม, รวมถึงเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ โดยการตรวจใช้เวลา 1-2 วันจึงจะได้ผล และสามารถตรวจได้แม้จะไม่มีอาการก็ตาม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 092-414-9254 หรือ Line Official @gloveclinic (มีแอดข้างหน้า)

ตรวจ HIV รีวิวความรู้สำหรับการตรวจเอชไอวี (HIV test)

เอชไอวีคือไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, และการติดจากแม่สู่ลูก เมื่อติดเชื้อไวรัส HIV ไวรัสจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง และติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ง่าย

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save