294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
ไวรัสตับอักเสบบี / Hepatitis B

ตับเป็นอวัยวะสำคัญในการจัดการสารอาหาร, กรองของเสียในเลือด, และช่วยต่อสู้กับภาวะติดเชื้อ ภาวะตับอักเสบจึงอาจทำให้การ ทำงานของตับบกพร่องได้ การอักเสบของตับอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไวรัสตับอักเสบ, การดื่มแอลกอฮอลล์, สารพิษ, ยาบางชนิด, หรือโรคทาง กายบางอย่างที่มีภาวะตับอักเสบร่วมด้วย
ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร
ไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดโรคตับที่รุนแรงและเรื้อรังได้ การติดเชื้อแบ่งเป็นแบบเฉียบพลัน (acute infection) ซึ่งเกิดขึ้นภาย ในหกเดือนแรกหลังได้รับเชื้อ และแบบเรื้อรัง (chronic infection) ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะตับแข็ง, มะเร็งตับ, จนกระทั่งเสียชีวิตได้ในที่สุด
สาเหตุ
ไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ 3 ช่องทางคือ
- เพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- ติดต่อผ่านจากแม่สู่ลูกในช่วงแรกคลอด
อาการ
คนไข้ส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักไม่แสดงอาการและมักจะไม่รู้ตัวเองว่าติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ เมื่อมีอาการ คนไข้อาจรู้สึก อ่อนเพลีย, มีไข้, เบื่ออาหาร, คลื่นไส้, อาเจียน, ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม, อุจจาระสีซีด, และอาจจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ทำได้โดยการตรวจเลือดหาแอนติเจนของไวรัส (Hepatitis B surface antigen or HBsAg) และยังสามารถตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดได้ (Hepatitis B viral load) ส่วนในผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสยังสามารถตรวจหาภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบีหรือแอนติบอดี้ (Hepatits B surface antibody or anti-HBs)
การรักษา
การรักษาไวรัสตับอักเสบบี แยกเป็นสองกรณี ในระยะที่มีภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน แนะนำให้รักษาตามอาการซึ่งประกอบด้วย การพักผ่อน, การให้สารอาหารและสารน้ำที่เพียงพอ, และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ในรายที่เป็นมากอาจจำเป็นต้องให้การรักษาแบบผู้ป่วย ใน ส่วนในระยะตับอักเสบเรื้อรัง คนไข้ควรได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอาจจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสเพื่อชะลอ หรือป้องกันโรคแทรกที่อาจตามมาภายหลังได้ (ภาวะตับแข็ง หรือมะเร็งตับ)
การป้องกัน
การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับไวรัสตับอักเสบบี คือการฉีดวัคซีน โดยวัคซีนสำหรับไวรัสตับอักเสบบี ควรให้ฉีดสามเข็ม ภายในระยะ เวลาหกเดือน เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อไวรัสไปตลอดชีวิตได้
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ