294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflmmatory disease – PID)

อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflamatory Disease) คือ การติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง บริเวณมดลูก ปีกมดลูก และท่อนำไข่ ซึ่งการติดเชื้อนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หรือหนองในเทียม ซึ่งมักเกิดบริเวณช่องคลอดและปากมดลูก หากไม่ทำการรักษาก็อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปบริเวณอื่นในระบบสืบพันธุ์ได้ โดยโรคนี้มักเกิดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 25 ปี หรือน้อยกว่านั้น

อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ในระยะแรกผู้ป่วยอาจยังไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากเป็นรุนแรงขึ้นจะเริ่มรู้สึกปวดในบริเวณช่องท้อง นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถพบอาการอื่นได้ ดังต่อไปนี้

  • เจ็บท้องช่วงล่างหรือท้องน้อย  
  • ภาวะตกขาวผิดปกติ มีกลิ่น หรือ สีเปลี่ยนไป
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ อาจมีเลือดออกในปริมาณมาก รอบเดือนมานานกว่าปกติ หรือมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • มีไข้สูง หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย และไม่สบายตัว
  • ปวดมากขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดแสบขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะขัด

ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ในทันทีหากสังเกตว่าตนมีอาการใด ๆ ที่กล่าวข้างต้น เนื่องจากการติดเชื้ออาจรุนแรง และเชื้อสามารถลามไปทำลายระบบสืบพันธุ์ได้แม้ติดเชื้อเพียงไม่กี่วัน

สาเหตุของอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สาเหตุของอุ้งเชิงกรานอักเสบเกิดจากการติดเชื้อที่พัฒนาในระบบสืบพันธุ์ในอวัยวะหญิงส่วนบน ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยเชื้อเหล่านี้จะแพร่กระจายจากช่องคลอดหรือปากมดลูก เข้าไปในช่องท้อง ท่อนำไข่ และรังไข่ ในหลายกรณีแพทย์อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าเกิดจากแบคทีเรียชนิดใด อาจให้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดในการรักษาเพื่อครอบคลุมในการฆ่าเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุได้

สาเหตุของการเกิดโรคมีความหลากหลาย ดังนี้

สาเหตุจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าการเกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบประมาณ 1 ใน 4 รายมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคหนองในแท้ หรือโรคหนองในเทียม โดยผู้ป่วยมักเริ่มติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากมดลูกก่อน ซึ่งสามารถรักษาหายได้โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ หากได้รับการรักษาไม่เหมาะสมหรือรักษาล่าช้า ก็อาจทำให้แบคทีเรียนั้นแพร่กระจายเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ได้

สาเหตุอื่น ๆ สาเหตุการเกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบในหลายกรณีนั้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด ซึ่งโดยปกติในช่องคลอดก็มีแบคทีเรียที่ไม่เป็นอันตรายอาศัยอยู่ แต่แบคทีเรียเหล่านี้ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้หากเข้าไปในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่เคยเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมาก่อน หรือเคยทำหัตถการเกี่ยวกับปากมดลูก เช่น การตรวจภายในมดลูก การทำแท้ง หรือการใส่อุปกรณ์คุมกำเนิดเข้าไป เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของอุ้งเชิงกรานอักเสบ

โรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นโรคที่รักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มีดังนี้

  • โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายอาจประสบปัญหาเรื้อรังได้ และสามารถกลับมาเป็นโรคได้อีก สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบ หรือคู่นอนมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แต่ไม่ได้รับการตรวจหรือรักษา หรืออาจเกิดในกรณีที่รังไข่ หรือท่อรังไข่เคยอักเสบแล้วติดเชื้ออีก ก็สามารถมีโอกาสที่จะเกิดโรคขึ้นอีกได้ง่าย
  • ฝี โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจทำให้เกิดฝีได้ พบได้บ่อยที่บริเวณท่อนำไข่และรังไข่ จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ในบางกรณีอาจใช้การผ่าตัดเจาะระบายเพื่อเอาหนองออก
  • อาการปวดเชิงกรานเรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายอาจจะใช้ชีวิตตามปกติได้ยากขึ้น เพราะอาการปวดและอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น นอนไม่หลับหรือซึมเศร้า ยาแก้ปวดอย่าง ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน จะช่วยบรรเทาอาการได้เบื้องต้น แต่ถ้ารับประทานแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หรือสูตินรีแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก หากเกิดการติดเชื้อที่ท่อนำไข่ อาจทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณนั้นและทำให้ไข่เคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่ได้ยาก และหากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่นั้นจะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตผิดที่จนอาจทำให้ท่อนำไข่ฉีกขาด เลือดออก และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • การมีบุตรยาก การมีแผลเป็นจากการอักเสบหรือเคยเป็นฝีในท่อนำไข่ อาจทำให้ไข่ไม่สามารถผ่านเข้าไปในมดลูกได้ ส่งผลให้เป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ โดยคาดว่าประมาณ 1 ใน 10 ของผู้หญิงที่เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบจะประสบภาวะมีบุตรยาก ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้า แต่ก็มีรายงานการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายขาดแล้วก็สามารถตั้งครรภ์ได้ปกติเช่นกัน สำหรับการแก้ไขภาวะท่อนำไข่อุดตันนั้นสามารถรักษาด้วยการผ่าตัด และหากผู้ป่วยประสบปัญหาการมีบุตรยาก อาจพิจารณาการทำเด็กหลอดแก้ว

การวินิจฉัยโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

สอบถามอาการและทำการตรวจ แพทย์จะถามประวัติการใช้ยาและการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วย ตรวจภายในและอุ้งเชิงกรานเพื่อดูภาวะตกขาวที่ผิดปกติ เก็บจุลินทรีย์จากสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดและปากมดลูก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อระบุชนิดของตัวแบคทีเรีย และตรวจอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะ เลือด ทดสอบการตั้งครรภ์ อัลตราซาวด์

การผ่าตัด ในบางกรณีอาจใช้การผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง หรือ Laparoscopy โดยสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปดูอวัยวะภายใน และถ้ามีความจำเป็นอาจต้องเก็บตัวอย่างเนื้อเยื้อเพิ่มด้วย การผ่าตัดในลักษณะนี้อาจทำกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ที่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

การรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การรับประทานยาปฏิชีวนะ

หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรรักษาเชื้อให้หาย และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ ยาแก้อักเสบที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาออฟล็อกซาซิน (Ofloxacin) เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) ดอกซีไซคลิน (Doxycycline )

ยาปฏิชีวนะบางตัวไม่สามารถใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นในกรณีที่ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนเริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม ผู้ป่วยยังจะต้องรับประทานยาต่อจนครบประมาณ 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าอาการติดเชื้อนั้นหายขาด

หากผู้ป่วยปวดรอบ ๆ เชิงกรานหรือท้อง สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน ระหว่างรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษา และดูการตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการผู้ป่วยนั้นไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ผู้ป่วยอาจต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

นอกจากตัวผู้ป่วยเอง บางกรณีก็จำเป็นต้องรักษาคู่นอน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับการรักษาครบตามแพทย์สั่ง

การป้องกันอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ป้องกันด้วยถุงยางอนามัย ส่วนใหญ่โรคอุ้งเชิงกรานอังเสบเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุดจึงเป็นการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โดยช่วยป้องกันโดยไม่ให้เชื้อผ่านเข้าไปในยังอวัยวะสืบพันธุ์

จำกัดคู่นอน ความเสี่ยงของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนคู่นอนที่เพิ่มขึ้น คู่นอนของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ควรได้รับการรักษาด้วย ส่วนใหญ่ผู้ชายที่เป็นหนองในเทียมจะไม่มีอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อได้ ซึ่งหนองในเทียมอาจกลับมาแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยอีกครั้ง ในกรณีที่คู่นอนติดเชื้อและยังไม่ได้รับการรักษา

หากท่านสนใจเข้ารับบริการให้คำปรึกษาและการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://gloveclinic.com/th/departments/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80/

ที่มา : https://www.pobpad.com/อุ้งเชิงกรานอักเสบ-อุ้ง

Make Appointment

Relate content :

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ ยาต้าน HIV หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี คือกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทำไมต้องใช้ยาต้าน HIV ยาต้าน HIV ทำงานอย่างไร ยาต้าน HIV ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไวรัสเอชไอวีต้องการในการเพิ่มจำนวนตัวเอง เมื่อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ประเภทของยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น: การใช้ยาต้าน HIV ร่วมกับยาอื่นๆ ยาต้าน HIV บางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดก่อนเริ่มรับประทานยาต้าน HIV ผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ยาต้าน HIV อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปเอง หรือสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือเปลี่ยนชนิดยา การใช้ยาต้าน HIV ชีวิตหลังการเริ่มใช้ยาต้าน HIV การใช้ยาต้าน HIV…

โรคหนองใน: ภัยเงียบที่คุณไม่ควรเพิกเฉย

โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะเพศ ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก

ตรวจ HIV: ก้าวแรกสู่สุขภาพที่ดี

HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ การตรวจ HIV เป็นวิธีที่ง่ายและไม่เจ็บปวด สามารถช่วยให้คุณรู้สถานะสุขภาพของคุณได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำไมต้องตรวจ HIV? วิธีการตรวจ HIV ผลการตรวจ HIV หากผลการตรวจ HIV เป็นบวก การรู้ว่าผลการตรวจ HIV เป็นบวก อาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ขอให้คุณรู้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว และมีทางออกเสมอ การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเริ่มการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยืดอายุขัยได้ เมื่อได้รับผลตรวจ HIV เป็นบวก คุณควร: การรักษา HIV ปัจจุบันมียาต้านไวรัส HIV ที่สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพได้ ยาต้านไวรัส HIV จะช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตหลังการตรวจพบ HIV การใช้ชีวิตกับ HIV อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพที่ดี คุณสามารถมีชีวิตที่ปกติได้ การดูแลสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ติดเชื้อ…

ฉีดวัคซีนงูสวัดที่ glove clinic

งูสวัดคือไวรัสชนิดหนึ่ง (Herpes zoster) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับอีสุกอีใส (Varicella zoster) เมื่อเราติดเชื้อไวรัสอีสุกใสในวัยเด็กแล้ว ไวรัสสามารถที่จะหลบซ่อนได้ในร่างกายเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่งเมื่อร่างกายอ่อนแอ ไวรัสนั้นจึงออกมาทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำใส ปวดแสบร้อนตามบริเวณที่เส้นประสาทต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเรียกกันว่างูสวัด . ไวรัสงูสวัดสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อของเส้นประสาทตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาการของงูสวัดนั้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแสบร้อนนำมาก่อน โดยอาการดังกล่าวก็คืออาการเส้นประสาทอักเสบจากไวรัสงูสวัดนั่นเอง . หลังจากอาการปวดแสบร้อน ก็จะมีตุ่มน้ำใสขึ้นตรงบริเวณที่ปวด ระยะนี้เชื้อสามารถแพร่กระจายให้ผู้อื่นได้ โดยถ้าผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสทันเวลา ก็จะทำให้ตุ่มน้ำขึ้นไม่มาก และสามารถลดระยะเวลาของอาการปวดได้อีกด้วย โดยอาการปวดเส้นประสาทหลังติดเชื้อไวรัสงูสวัดนั้นสามารถเป็นเรื้อรัง และจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดปลายประสาทในการรักษาเป็นเวลานานจนกว่าอาการจะดีขึ้นได้ . วัคซีนงูสวัด (Shingrix) สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถป้องกันการปวดปลายประสาทที่เกิดหลังการติดเชื้องูสวัดได้อีกด้วย โดยประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนงูสวัด (Shingrix) นั้นสูงอย่างน้อย 90 % และระดับภูมิคุ้มกันต่องูสวัดหลังฉีดวัคซีนจะอยู่ไปนานอย่างน้อย 7 ปีหลังจากที่ฉีด . คำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ได้ตั้งแต่เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรังที่อาจทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อได้ง่าย โดยการฉีดวัคซีนงูสวัด…

ทอนซิลอักเสบจากเริม

ทอนซิลอักเสบจากเริม เริมหรือ herpes simplex เป็นไวรัสที่ติดต่อได้จากการการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่มีเชื้อเริมมักจะไม่มีอาการ และไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อ และอาจมีตุ่มน้ำใสแตกเป็นแผลเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ อาการที่พบบ่อยคือตุ่มน้ำมาที่บริเวณริมฝีปาก หรือที่บริเวณอวัยวะเพศ.โดยในรายที่รับเชื้อเริมจากออรัลเซ็กส์ ก็อาจจะทำให้เกิดแผลที่ทอนซิล มีอาการเหมือนทอนซิลอักเสบจนเป็นหนองได้ ตัวอย่างทอนซิลในภาพนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้และเจ็บคอมากหลังจากมีเพศสัมพันธ์มา 4-5 วัน โดยได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจากหมอหูคอจมูกมาหนึ่งสัปดาห์แล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้มา swab PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ glove clinic ผลตรวจพบเชื้อ Herpes simplex virus type 2.เชื้อเริมสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส ในรายนี้หลังกินยาต้านไวรัสแล้วพบว่าหนองที่คอลดลงอย่างรวดเร็วหลังกินยาไปเพียง 2-3 วัน (ดังภาพ) รวมทั้งอาการเจ็บคอดีขึ้นมากเป็นลำดับ.การตรวจ PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นการตรวจที่แม่นยำ และสามารถตรวจหาเชื้อก่อโรคได้หลายเชื้อในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหนองในแท้, หนองในเทียม, เริม, รวมถึงเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ โดยการตรวจใช้เวลา 1-2 วันจึงจะได้ผล และสามารถตรวจได้แม้จะไม่มีอาการก็ตาม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 092-414-9254 หรือ Line Official @gloveclinic (มีแอดข้างหน้า)

ตรวจ HIV รีวิวความรู้สำหรับการตรวจเอชไอวี (HIV test)

เอชไอวีคือไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, และการติดจากแม่สู่ลูก เมื่อติดเชื้อไวรัส HIV ไวรัสจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง และติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ง่าย

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save