294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
ยา PrEP ป้องกันการติดเชื้อ HIV

ยา PrEP คืออะไร ยาเพร๊พ หรือยา PrEP ย่อมาจาก Pre-exposure prophylaxis ซึ่งคือยาที่ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ยาเพร๊พเป็นยาสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ หากมีความเสี่ยง การกินยาเพร๊พจะช่วยป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายได้ โดยแนะนำให้กินวันละเม็ดเพื่อให้ปริมาณยาอยู่ในร่างกายอย่างเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ หากไม่ได้กินยาทุกวันอาจทำให้ระดับยาไม่ถึงระดับที่ป้องกันเชื้อได้
ยา PrEP เหมาะกับใครบ้าง
มีคู่นอนที่มีการติดเชื้อ HIV
ใช้ถุงยางอนามัยไม่สม่ำเสมอ
เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
มีคู่นอนหลายคน
มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
เคยมีประวัติกินยา PEP หลายครั้ง
ยา PrEP มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
ยาเพร๊พจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกินทุกวัน มีหลายรายงานการศึกษาจาก CDC ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันการติด HIV ผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้ถึง 99% และป้องกันผ่านทางเข็มฉีดยาได้ถึง 74% การใช้ถุงยางอนามัยร่วมกันกินยาเพร๊พยิ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภารการป้องกันได้มากขึ้น
ยา PrEP มีผลข้างเคียงหรือไม่
สำหรับบางคนอาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว เหนื่อยเพลีย แต่มักจะดีขึ้นและหายไปภายในไม่กี่วัน จะมีอาการแค่ช่วงแรกที่เริ่มกินยา
หากต้องการกินยา PrEP ต้องทำอย่างไร
การกินยาเพร๊พเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง และที่สำคัญจะต้องมีการตรวจเลือดก่อนเพื่อให้มั่นใจว่ายังไม่มีการติดเชื้อ HIV มาก่อน ถ้าหากผลตรวจเป็นลบก็สามารถกินยาเพร๊พได้
เมื่อเริ่มกินยา PrEP แล้วต้องดูแลตัวเองอย่างไร
ยาเพร๊พจะมีประสิทธิภาพที่สุดโดยควรกินทุกวัน ไม่ควรกินๆ หยุดๆ ผิดไปจากคำแนะนำของแพทย์ และยังควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้ง แม้ยาเพร๊พจะช่วยป้องกันเชื้อ HIV แต่ก็ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ในระหว่างที่กินยาเพร๊พควรตรวจเลือดทุกๆ 3 เดือนด้วย
ที่มา : https://aidsinfo.nih.gov/understanding-hiv-aids/fact-sheets/20/85/pre-exposure-prophylaxis–prep-
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ