294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ / Thin Prep PAP smear

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม (พ.ศ. 2558) ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทราบว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเท่ารักษามะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม

วิธีตรวจคัดกรองที่รู้จักกันดี ได้แก่ การตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear test) ซึ่งเป็นการตรวจดูเซลล์ผิดปกติที่อาจเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจแปปสเมียร์นั้นสามารถให้ผลลบลวงได้ เนื่องจากบางครั้งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจอาจซ้อนทับกัน มีเลือด หรือมูกปนเปื้อน ทำให้เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วไม่เห็นความผิดปกติ

ปัจจุบันมีวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid-based cytology: LBC) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test หรือ Cy-Prep) เรียกตามยี่ห้อน้ำยาที่ใช้ตรวจ วิธีนี้สามารถเก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากขึ้น ชัดขึ้น ทำให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65%

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) การตรวจ ThinPrep Pap Test ก็ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาว่า เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบมาตรฐานอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ดั้งเดิม

ใช้เวลาตรวจประมาณ 15-20 นาที และรู้ผลภายใน 3 สัปดาห์หลังวันเก็บตัวอย่างเซลล์

ความจริงแล้วทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบแปปสเมียร์และแบบ LBC หรือที่รู้จักกันในชื่อ ThinPrep Pap Test นั้นเป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน แต่การตรวจแบบหลังเป็นวิธีที่ใหม่กว่า และมีข้อที่เหนือกว่าการตรวจคัดกรองแบบแปปสเมียร์ดังนี้
1. เก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากกว่า ลดปัญหาการเก็บตัวอย่างมาไม่เพียงพอสำหรับตรวจวิเคราะห์
2. ในกระบวนการตรวจ มูกและเลือดจะถูกกำจัดออกไป ลดปัญหาสิ่งบดบังเซลล์ ทำให้เห็นตัวอย่างเซลล์ชัดเจนขึ้น
3. ลดอัตราการเกิดผลลบลวง
4. นักเซลล์วิทยาใช้เวลาแปลผลสั้นกว่า
5. สามารถนำสิ่งส่งตรวจที่เป็นของเหลวไปตรวจหาเชื้อ HPV ต่อได้ ไม่ต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีตรวจเซลล์วิทยา ทั้งแบบแปปสเมียร์ดั้งเดิมและ Liquid-based cytology ดังนี้
1. ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 30 ปี และตรวจซ้ำทุกๆ 2-3 ปี
2. หากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง ไม่มีรอยโรคที่ปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Cervical Intraepithelial Neoplasia: CIN) ไม่มีประวัติได้รับการรักษามะเร็งปากมดลูก และไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเว้นระยะการตรวจซ้ำออกเป็นทุกๆ 3-5 ปี
3. ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี ที่ 10 ก่อนหน้านั้นตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ และผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง สามารถหยุดตรวจได้ ยกเว้นว่ายังมีเพศสัมพันธ์หรือมีคู่นอนหลายคน ควรตรวจคัดกรองต่อไปตามปกติ
4. ผู้หญิงที่ตรวจพบว่ามีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Severe combined immunodeficiency disease: SCID) ใน 1 ปีแรกควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน หลังจากนั้นควรตรวจคัดกรองปีละ 1 ครั้ง
5. ผู้หญิงที่ตัดมดลูกพร้อมกับปากมดลูกออกแล้ว และไม่มีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรอง (แต่ควรรับการตรวจภายในเพื่อหาโรคทางนรีเวชอื่นๆ)
6. ผู้หญิงที่เคยรักษามะเร็งปากมดลูก หรือรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก ยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นซ้ำ จึงควรตรวจติดตามตามความถี่ที่แพทย์กำหนด และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปีจนครบ 20 ปี

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้
1. ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
2. ผู้หญิงทั่วไปที่มีเพศสัมพันธ์
3. ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
4. ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป
5. ผู้หญิงที่มีพฤติกรรม หรือโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น สูบบุหรี่ เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ
6. ผู้หญิงที่มีตกขาวผิดปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติ
7. ผู้หญิงที่เว้นว่างการตรวจมาระยะหนึ่ง
8. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

มีข้อแนะนำและข้อห้ามที่คุณควรทราบ เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างราบรื่นและให้ผลแม่นยำที่สุด ดังนี้
1. ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือตรวจช่วง 5-7 วันหลังประจำเดือนหมด
2. ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม เจลหล่อลื่น หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
3. ห้ามสวนล้างช่องคลอด หรือมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง

ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง

ควรตรวจ เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ทุกสายพันธุ์ มะเร็งปากมดลูกแม้จะเป็นโรคร้าย แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ผู้หญิงทุกคนจึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากโรคนี้แน่

Reference: https://www.womenshealth.gov/files/documents/fact-sheet-pap-hpv-tests.pdf

หากท่านสนใจเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ผู้หญิง) หรือตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนัก (ผู้ชาย) โดยการตรวจ Thin prep ราคา 1,500 บาท ท่านสามารถนัดหมายผ่านทาง Line Official @gloveclinic หรือโทรศัพท์เข้ามาได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 092-414-9254

Make Appointment

Relate content :

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ ยาต้าน HIV หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี คือกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทำไมต้องใช้ยาต้าน HIV ยาต้าน HIV ทำงานอย่างไร ยาต้าน HIV ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไวรัสเอชไอวีต้องการในการเพิ่มจำนวนตัวเอง เมื่อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ประเภทของยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น: การใช้ยาต้าน HIV ร่วมกับยาอื่นๆ ยาต้าน HIV บางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดก่อนเริ่มรับประทานยาต้าน HIV ผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ยาต้าน HIV อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปเอง หรือสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือเปลี่ยนชนิดยา การใช้ยาต้าน HIV ชีวิตหลังการเริ่มใช้ยาต้าน HIV การใช้ยาต้าน HIV…

โรคหนองใน: ภัยเงียบที่คุณไม่ควรเพิกเฉย

โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะเพศ ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก

ตรวจ HIV: ก้าวแรกสู่สุขภาพที่ดี

HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ การตรวจ HIV เป็นวิธีที่ง่ายและไม่เจ็บปวด สามารถช่วยให้คุณรู้สถานะสุขภาพของคุณได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำไมต้องตรวจ HIV? วิธีการตรวจ HIV ผลการตรวจ HIV หากผลการตรวจ HIV เป็นบวก การรู้ว่าผลการตรวจ HIV เป็นบวก อาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ขอให้คุณรู้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว และมีทางออกเสมอ การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเริ่มการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยืดอายุขัยได้ เมื่อได้รับผลตรวจ HIV เป็นบวก คุณควร: การรักษา HIV ปัจจุบันมียาต้านไวรัส HIV ที่สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพได้ ยาต้านไวรัส HIV จะช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตหลังการตรวจพบ HIV การใช้ชีวิตกับ HIV อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพที่ดี คุณสามารถมีชีวิตที่ปกติได้ การดูแลสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ติดเชื้อ…

ฉีดวัคซีนงูสวัดที่ glove clinic

งูสวัดคือไวรัสชนิดหนึ่ง (Herpes zoster) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับอีสุกอีใส (Varicella zoster) เมื่อเราติดเชื้อไวรัสอีสุกใสในวัยเด็กแล้ว ไวรัสสามารถที่จะหลบซ่อนได้ในร่างกายเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่งเมื่อร่างกายอ่อนแอ ไวรัสนั้นจึงออกมาทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำใส ปวดแสบร้อนตามบริเวณที่เส้นประสาทต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเรียกกันว่างูสวัด . ไวรัสงูสวัดสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อของเส้นประสาทตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาการของงูสวัดนั้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแสบร้อนนำมาก่อน โดยอาการดังกล่าวก็คืออาการเส้นประสาทอักเสบจากไวรัสงูสวัดนั่นเอง . หลังจากอาการปวดแสบร้อน ก็จะมีตุ่มน้ำใสขึ้นตรงบริเวณที่ปวด ระยะนี้เชื้อสามารถแพร่กระจายให้ผู้อื่นได้ โดยถ้าผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสทันเวลา ก็จะทำให้ตุ่มน้ำขึ้นไม่มาก และสามารถลดระยะเวลาของอาการปวดได้อีกด้วย โดยอาการปวดเส้นประสาทหลังติดเชื้อไวรัสงูสวัดนั้นสามารถเป็นเรื้อรัง และจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดปลายประสาทในการรักษาเป็นเวลานานจนกว่าอาการจะดีขึ้นได้ . วัคซีนงูสวัด (Shingrix) สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถป้องกันการปวดปลายประสาทที่เกิดหลังการติดเชื้องูสวัดได้อีกด้วย โดยประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนงูสวัด (Shingrix) นั้นสูงอย่างน้อย 90 % และระดับภูมิคุ้มกันต่องูสวัดหลังฉีดวัคซีนจะอยู่ไปนานอย่างน้อย 7 ปีหลังจากที่ฉีด . คำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ได้ตั้งแต่เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรังที่อาจทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อได้ง่าย โดยการฉีดวัคซีนงูสวัด…

ทอนซิลอักเสบจากเริม

ทอนซิลอักเสบจากเริม เริมหรือ herpes simplex เป็นไวรัสที่ติดต่อได้จากการการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่มีเชื้อเริมมักจะไม่มีอาการ และไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อ และอาจมีตุ่มน้ำใสแตกเป็นแผลเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ อาการที่พบบ่อยคือตุ่มน้ำมาที่บริเวณริมฝีปาก หรือที่บริเวณอวัยวะเพศ.โดยในรายที่รับเชื้อเริมจากออรัลเซ็กส์ ก็อาจจะทำให้เกิดแผลที่ทอนซิล มีอาการเหมือนทอนซิลอักเสบจนเป็นหนองได้ ตัวอย่างทอนซิลในภาพนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้และเจ็บคอมากหลังจากมีเพศสัมพันธ์มา 4-5 วัน โดยได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจากหมอหูคอจมูกมาหนึ่งสัปดาห์แล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้มา swab PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ glove clinic ผลตรวจพบเชื้อ Herpes simplex virus type 2.เชื้อเริมสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส ในรายนี้หลังกินยาต้านไวรัสแล้วพบว่าหนองที่คอลดลงอย่างรวดเร็วหลังกินยาไปเพียง 2-3 วัน (ดังภาพ) รวมทั้งอาการเจ็บคอดีขึ้นมากเป็นลำดับ.การตรวจ PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นการตรวจที่แม่นยำ และสามารถตรวจหาเชื้อก่อโรคได้หลายเชื้อในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหนองในแท้, หนองในเทียม, เริม, รวมถึงเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ โดยการตรวจใช้เวลา 1-2 วันจึงจะได้ผล และสามารถตรวจได้แม้จะไม่มีอาการก็ตาม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 092-414-9254 หรือ Line Official @gloveclinic (มีแอดข้างหน้า)

ตรวจ HIV รีวิวความรู้สำหรับการตรวจเอชไอวี (HIV test)

เอชไอวีคือไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, และการติดจากแม่สู่ลูก เมื่อติดเชื้อไวรัส HIV ไวรัสจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง และติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ง่าย

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save