294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

วัคซีนงูสวัด / Shingles vaccine

  1. วัคซีนงูสวัดเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะคนวัยนี้เมื่อเกิดโรคงูสวัดจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกว่าวัยอื่น
  2. ผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด
  3. ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส
  4. ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคงูสวัด

ในปัจจุบันวัคซีนงูสวัดเป็นการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียว ช่วยปกป้องคุณจากโรคงูสวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella Zoster Virus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อก่อโรคอีสุกอีใส ส่วนวัคซีนงูสวัดอีกชนิดหนึ่ง (recombinant) นั้นต้องฉีด 2 เข็ม

  1. ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดมากกว่าหนึ่งในสาม
  2. เมื่อป่วยเป็นโรคงูสวัดจะช่วยลดความรุนแรงของอาการและจะไม่เกิดขึ้นนาน เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน

ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสจำเป็นต้องฉีดวัคซีนงูสวัดเพราะทุกคนมีโอกาสเป็นโรคอีสุกอีใสได้โดยที่ไม่รู้ตัว บางรายอาจป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ไม่แสดงอาการใดๆ ที่บอกว่าเป็นโรคอีสุกอีใสก็ได้

แม้ว่าจะเคยเป็นโรคงูสวัดมาแล้วก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ วัคซีนงูสวัดจะช่วยลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นโรคงูสวัดอีกครั้ง

  1. มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ เช่น เพิ่งได้รับการรักษาโรคมะเร็ง มีความผิดปกติทางเลือด เช่น ลูคีเมียมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกำลังรับประทานยาสเตียรอยด์ หรือเคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หากเข้าข่ายข้อใดต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความแน่ใจ
  2. มีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใดๆ ในวัคซีนงูสวัด หรือวัคซีนโรคอีสุกอีใสที่เคยได้รับก่อนหน้า
  3. เป็นวัณโรคที่ไม่ได้รับการรักษา

วัคซีนงูสวัดประกอบด้วยเจลาตินหมูเพียงเล็กน้อย เจลาตินคือ ส่วนประกอบทั่วไปและมีความสำคัญในตัวยาหลายชนิด รวมถึงในบางวัคซีน ในกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น ชาวมุสลิม ชาวยิว ได้ยอมรับการใช้เจลาตินที่บรรจุอยู่ในวัคซีนแล้ว อย่างไรก็ตาม เป็นทางเลือกส่วนบุคคลที่จะรับมาใช้หรือไม่ เพราะยังมีอีกหลายความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป ปัจจุบันยังไม่มีทางเลือกอื่นที่จะไม่ใช้เจลาตินหมูสำหรับวัคซีนงูสวัด

ยาทุกชนิด (รวมทั้งวัคซีน) ได้รับการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพโดย Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) และวัคซีนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงเพื่อให้ใช้งานในประเทศอังกฤษ ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป รวมทั้งแจกจ่ายไปสู่หลายล้านคนทั่วโลก

หลังจากได้รับวัคซีนงูสวัดอาจมีผลข้างเคียงตามมา แต่มักไม่เป็นอันตราย ผลข้างเคียงนั้นค่อนข้างไม่รุนแรง และมีระยะเวลาไม่นาน โดย 1 ใน 10 ของผู้ได้รับวัคซีนจะมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดหัว แดง หรือปวดบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่หากได้รับผลข้างเคียงนานเกิน 2-3 วัน ควรติดต่อแพทย์เพื่อดูอาการ

ที่มา: https://www.honestdocs.co/shingles-vaccine

Make Appointment

Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์

กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม

ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ

การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง

อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ

ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน

ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน

ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ ยาต้าน HIV หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี คือกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทำไมต้องใช้ยาต้าน HIV ยาต้าน HIV ทำงานอย่างไร ยาต้าน HIV ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไวรัสเอชไอวีต้องการในการเพิ่มจำนวนตัวเอง เมื่อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ประเภทของยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น: การใช้ยาต้าน HIV ร่วมกับยาอื่นๆ ยาต้าน HIV บางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดก่อนเริ่มรับประทานยาต้าน HIV ผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ยาต้าน HIV อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปเอง หรือสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือเปลี่ยนชนิดยา การใช้ยาต้าน HIV ชีวิตหลังการเริ่มใช้ยาต้าน HIV การใช้ยาต้าน HIV…

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save