294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Vaxigrip

ไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจผิดว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดเพียงครั้งเดียวก็มีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต (เหมือนกับวัคซีนชนิดอื่นๆ) แต่จริงๆ แล้ว วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ต้องฉีดทุกปี เนื่องจากสายพันธุ์ของไวรัสจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี ในขณะนี้นักวิจัยกำลังพัฒนาวัคซีนที่ครอบคลุมไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนในทุกๆ ปี
ทำความรู้จัก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ vaxigrip
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ vaxigrip สามารรถป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ 4 สายพันธุ์ โดยผลิตจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว จะฉีดที่กล้ามเนื้อต้นแขน แต่ในทารกและเด็กเล็กจะฉีดที่ต้นขา ส่วนการฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนังสามารถทำได้ในผู้ที่มีอายุ 18-64 ปี ซึ่งครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ดังต่อไปนี้
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/ H3N2
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
- ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata
ทั้งนี้ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป แนะนำว่าควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปริมาณสูงกว่าปกติ เนื่องจากมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิว อิงแลนด์ (The New England Journal of Medicine) ปี ค.ศ. 2014 ว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปริมาณสูงสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุได้ดีกว่าโดยไม่เพิ่มผลข้างเคียง
อย่างไรก็ตามวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ได้มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อไวรัสได้ 100% ผู้ที่ได้วัคซีนยังมีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ได้แต่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
ควรไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือไม่?
ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง ตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค โดยเฉพาะกลุ่มคนต่อไปนี้ สมควรอย่างยิ่งที่จะฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่รวมไปถึงคนที่ทำงานกับ คนที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ด้วย ได้แก่
- ครอบครัวที่มีเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน (เพราะเด็กไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ จึงเสี่ยงติดเชื้อ)
- ผู้ที่มีโรคหัวใจหรือโรคปอดเรื้อรังโรคเบาหวานโรคไต โรคเลือด หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่อาศัยในบ้านพักผู้ป่วยหรือบ้านพักคนชรา
- บุคลากรทางการแพทย์
- ผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ผลข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน บางคนอาจมีไข้ต่ำๆ และปวดเมื่อยเนื้อตัว แต่มีบางกรณีซึ่งเกิดได้น้อยมากคือ ผู้ได้รับวัคซีนจะมีอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง ซึ่งจะปรากฏภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก เสียงแหบหรือหายใจมีเสียงดัง ลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือเวียนศีรษะ หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ใครที่ไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?
กลุ่มคนต่อไปนี้ได้รับคำแนะนำว่าไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่เคยมีอาการแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่รุนแรงมาก่อน
- ผู้ที่เคยเป็นกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร
- ผู้ที่ยังมีภาวะที่ทำให้มีไข้อยู่ (นอกจากไข้หวัดทั่วไป)
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ