294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
อาการของ HIV

โดยทั่วไปอาการของผู้ติดเชื้อ HIV มักจะขึ้นกับระยะของการติดเชื้อของแต่ละคน โดยสามารถแบ่งได้เป็นระยะติดเชื้อฉับพลัน (acute HIV infection), ระยะที่ไม่มีอาการ (asymptomatic HIV infection) และระยะที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือที่ชอบเรียกกันว่าโรคเอดส์ (AIDS or Advanced Immunodeficiency Syndrome)
ระยะของอาการ HIV
อาการในระยะติดเชื้อฉับพลัน
อาจพบได้ในคนไข้บางคนที่เพิ่งได้รับเชื้อไวรัส HIV มาประมาณ 10-14 วันโดยคนไข้อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ ไข้สูง, เจ็บคอ, ปวดเมื่อยตัว บางรายอาจมีท้องเสียหรือผื่นตามตัวร่วมด้วย ตรวจร่างกายจะพบมีต่อมน้ำเหลืองโต โดยคนไข้ที่มีอาการติดเชื้อ HIV ในระยะนี้อาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไข้เลือดออก ดังนั้นหากมีเซ็กส์ที่ไม่ได้ป้องกันในระยะเวลาที่เข้าได้ ก็ควรจะแจ้งแพทย์ผู้ตรวจเพื่อการตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน
ระยะที่ไม่มีอาการ
ซึ่งผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะนี้ ซึ่งเป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันยังไม่ตก ดังนั้นจึงยังไม่มีอาการของการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) หลังจากการรับเชื้อ HIV ในระยะแรกเข้าไป คนไข้จะยังสามารถอยู่ในระยะนี้ได้หลายปี โดยไม่แสดงอาการอะไรเลย ค่า CD4 ส่วนใหญ่จะยังเกิน 300-400 ขึ้นไป ทั้งนี้การที่ภูมิคุ้มกันจะตกเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งตัวคนไข้เอง, ปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย, โรคประจำตัว, อายุ, รวมถึงไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนด้วย
ระยะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและเริ่มยาต้านไวรัส ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV จะเริ่มมีอาการของภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ส่วนใหญ่เกิดใน 3-5 ปีหลังจากรับเชื้่อไวรัส) ซึ่งในช่วงแรกอาจจะเริ่มมีอาการท้องเสียเป็น ๆ หาย ๆ, ไอเรื้อร้ง รวมถึงผื่นแพ้ง่ายคลายตุ่มยุงกัด และเมื่อภูมิคุ้มกันบกพร่องจนค่า CD4 ต่ำกว่า 200 แล้ว คนไข้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างเช่น วัณโรค (ไอเรื้อรัง, ไข้สูง, นำ้หนักลด), เชื้อราในช่องปาก (ฝ้าขาวบนลิ้นและกระพุ้งแก้ม), ปอดอักเสบจากเชื้อรา (ไอแห้ง, ไข้สูง, หายใจไม่อิ่ม) เป็นต้น ระยะเอดส์เป็นระยะที่คนไข้ต้องได้รับการวินิจฉัยและการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และยาปฏิชีวนะสำหรับโรคแทรก ซึ่งถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที คนไข้สามารถฟื้นภูมิคุ้มกันตัวเองจนร่างกายแข็งแรงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้

การรักษาผู้ติดเชื้อ HIV
การรักษาจะได้ผลดีที่สุดหากได้เริ่มยาต้านไวรัสตั้งแต่คนไข้ยังไม่แสดงอาการของโรคแทรกซ้อน ดังนั้นการตรวจเลือดหาเชื้อไวรัส HIV สำหรับทุกคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจึงสามารถช่วยลดโอกาสที่จะเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องในผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ