294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
ตรวจ HIV รีวิวความรู้สำหรับการตรวจเอชไอวี (HIV test)

เอชไอวี (HIV) คืออะไร
เอชไอวีคือไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, และการติดจากแม่สู่ลูก เมื่อติดเชื้อไวรัส HIV ไวรัสจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง และติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ง่าย จนกระทั่งมีโอกาสเสียชีวิตได้ ปัจจุบันการตรวจและการรักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้พัฒนาไปมากจนสามารถตรวจหาเชื้อได้ง่าย และมีความแม่นยำอีกด้วย ส่วนในแง่การรักษาก็เช่นกัน ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถกินยาต้านไวรัสให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงและสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป
เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี (HIV test)
เนื่องจากการตรวจ HIV ทำได้ง่ายและมีความแม่นยำสูง ในหลายประเทศจึงได้จัดให้การตรวจเอชไอวีอยู่ในหมวดหมู่การตรวจสุขภาพทั่วไป อย่างไรก็ดีเราแนะนำให้ตรวจ HIV สำหรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้
- เมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
- เมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัส
- เมื่อมีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- เมื่อวางแผนมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับคนรักอย่างปลอดภัย
- เมื่อวางแผนสมรสรวมถึงมีบุตรและตั้งครรภ์
- เมื่อใช้ชีวิตร่วมกับคู่ที่มีผลเลือดต่างกัน
- เมื่อต้องการตรวจเช็คสุขภาพทั่วไป
ความแม่นยำของการตรวจ HIV
ความแม่นยำของการตรวจ HIV ขึ้นกับชนิดการตรวจที่ใช้และระยะเวลาหลังมีความเสี่ยง โดยทั่วไปการตรวจเอชไอวีปัจจุบันเราใช้วิธีตรวจที่เรียกว่า 4th Generation HIV test หรือในวงการแพทย์มักเรียกสั้น ๆ กันว่า 4th gen วิธีตรวจนั้นมีความแม่นยำมากถึง 99% โดยผลตรวจน่าเชื่อถือตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไปหลังจากที่มีความเสี่ยง
ในทางปฏิบัตินั้นยังมีการใช้ชุดตรวจที่เป็น 3rd generation อยู่บ้าง ซึ่งข้อดีก็คือราคาถูกกว่าโดยวิธีตรวจ 3rd generation นั้นจะมีความแม่นยำหากความเสี่ยงเกิดขึ้นตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป
ส่วนในรายที่เพิ่งมีความเสี่ยงมาได้ 3-5 วันและมีความกังวล ต้องการที่จะรู้ผลในเวลานั้น ชุดตรวจที่เราจะเลือกใช้ก็คือ NAAT หรือ HIV PCR ซึ่งเป็นการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสเอชไอวี ซึ่งวิธี NAAT หรือ HIV PCR นั้นสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสหลังมีความเสี่ยงได้ตั้งแต่ 5-7 วันขึ้นไป ทั้งนี้การตรวจ NAAT หรือ HIV PCR มีข้อดีคือสามารถตรวจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หลังมีความเสี่ยงแต่อย่างไรก็ตามควรต้องมีการติดตามตรวจเพื่อคอนเฟิร์มด้วยวิธี 4th generation เพราะเป็นมาตรฐานในการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ระยะเวลาในการทราบผลตรวจ HIV
ปัจจุบันวิธีตรวจ HIV แบบ 4th generation หรือ 3rd generation ทำได้ง่ายมากในห้องปฏิบัติการโดยสามารถออกผลตรวจได้ภายในเวลา 30-60 นาที คนไข้สามารถทราบผลได้เลยในวันที่มาตรวจ
ส่วนวิธี NAAT หรือ HIV PCR นั้นมีความยุ่งยากมากกว่าและใช้เวลาในการออกผลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 วัน
ความถี่ในการตรวจ HIV
โดยทั่วไปการตรวจเอชไอวีนั้นขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ในรายที่ไม่มีความเสี่ยงหรือแทบไม่มีความเสี่ยงเลยอาจพิจารณาตรวจเอชไอวีปีละครั้งหรือน้อยกว่านั้นก็ย่อมได้
ส่วนในคนที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ทราบผลเอชไอวีอยู่เป็นครั้งคราวรวมถึงกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันและกลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เราแนะนำให้ตรวจเอชไอวีสม่ำเสมอทุก 3-6 เดือน
สำหรับการตรวจหลังมีความเสี่ยงหรือหลังกินยาต้านไวรัสฉุกเฉิน (PEP) เราแนะนำให้ตรวจที่ 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือนหลังจากความเสี่ยง
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ