294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

อาการของ HIV

โดยทั่วไปอาการของผู้ติดเชื้อ HIV มักจะขึ้นกับระยะของการติดเชื้อของแต่ละคน โดยสามารถแบ่งได้เป็นระยะติดเชื้อฉับพลัน ​(acute HIV infection), ระยะที่ไม่มีอาการ (asymptomatic HIV infection) และระยะที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือที่ชอบเรียกกันว่าโรคเอดส์ (AIDS or Advanced Immunodeficiency Syndrome)

ระยะของอาการ HIV

อาการในระยะติดเชื้อฉับพลัน 

อาจพบได้ในคนไข้บางคนที่เพิ่งได้รับเชื้อไวรัส HIV มาประมาณ 10-14 วันโดยคนไข้อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ ไข้สูง, เจ็บคอ, ปวดเมื่อยตัว บางรายอาจมีท้องเสียหรือผื่นตามตัวร่วมด้วย ตรวจร่างกายจะพบมีต่อมน้ำเหลืองโต โดยคนไข้ที่มีอาการติดเชื้อ HIV ในระยะนี้อาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไข้เลือดออก ดังนั้นหากมีเซ็กส์ที่ไม่ได้ป้องกันในระยะเวลาที่เข้าได้ ก็ควรจะแจ้งแพทย์ผู้ตรวจเพื่อการตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน

ระยะที่ไม่มีอาการ 

ซึ่งผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะนี้ ซึ่งเป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันยังไม่ตก ดังนั้นจึงยังไม่มีอาการของการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) หลังจากการรับเชื้อ HIV ในระยะแรกเข้าไป คนไข้จะยังสามารถอยู่ในระยะนี้ได้หลายปี โดยไม่แสดงอาการอะไรเลย ค่า CD4 ส่วนใหญ่จะยังเกิน 300-400 ขึ้นไป ทั้งนี้การที่ภูมิคุ้มกันจะตกเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งตัวคนไข้เอง, ปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย, โรคประจำตัว, อายุ, รวมถึงไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนด้วย

ระยะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์

หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและเริ่มยาต้านไวรัส ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV จะเริ่มมีอาการของภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ส่วนใหญ่เกิดใน 3-5 ปีหลังจากรับเชื้่อไวรัส) ซึ่งในช่วงแรกอาจจะเริ่มมีอาการท้องเสียเป็น ๆ หาย ๆ, ไอเรื้อร้ง รวมถึงผื่นแพ้ง่ายคลายตุ่มยุงกัด และเมื่อภูมิคุ้มกันบกพร่องจนค่า CD4 ต่ำกว่า 200 แล้ว คนไข้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างเช่น วัณโรค (ไอเรื้อรัง, ไข้สูง, นำ้หนักลด), เชื้อราในช่องปาก (ฝ้าขาวบนลิ้นและกระพุ้งแก้ม), ปอดอักเสบจากเชื้อรา (ไอแห้ง, ไข้สูง, หายใจไม่อิ่ม) เป็นต้น ระยะเอดส์เป็นระยะที่คนไข้ต้องได้รับการวินิจฉัยและการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และยาปฏิชีวนะสำหรับโรคแทรก ซึ่งถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที คนไข้สามารถฟื้นภูมิคุ้มกันตัวเองจนร่างกายแข็งแรงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้

การรักษาผู้ติดเชื้อ HIV

การรักษาจะได้ผลดีที่สุดหากได้เริ่มยาต้านไวรัสตั้งแต่คนไข้ยังไม่แสดงอาการของโรคแทรกซ้อน ดังนั้นการตรวจเลือดหาเชื้อไวรัส HIV สำหรับทุกคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจึงสามารถช่วยลดโอกาสที่จะเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องในผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV

Make Appointment

Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์

กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม

ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ

การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง

อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ

ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน

ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน

ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ ยาต้าน HIV หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี คือกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทำไมต้องใช้ยาต้าน HIV ยาต้าน HIV ทำงานอย่างไร ยาต้าน HIV ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไวรัสเอชไอวีต้องการในการเพิ่มจำนวนตัวเอง เมื่อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ประเภทของยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น: การใช้ยาต้าน HIV ร่วมกับยาอื่นๆ ยาต้าน HIV บางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดก่อนเริ่มรับประทานยาต้าน HIV ผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ยาต้าน HIV อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปเอง หรือสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือเปลี่ยนชนิดยา การใช้ยาต้าน HIV ชีวิตหลังการเริ่มใช้ยาต้าน HIV การใช้ยาต้าน HIV…

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save