294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
ช่องคลอดอักเสบ / Bacterial vaginosis

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ BV เป็นการติดเชื้อในช่องคลอดที่พบได้บ่อยที่สุด แม้ว่าการติดเชื้อจะไม่รุนแรง แต่อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้หากไม่ได้รับการรักษา มารู้จัก BV กันให้มากขึ้นเพื่อจะได้สังเกตและทราบว่าควรทำเช่นไรหากเกิดอาการนี้ขึ้น
ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นอย่างไร
ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า BV เป็นการติดเชื้อย่างหนึ่งบริเวณช่องคลอดที่ไม่รุนแรงนัก ที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลกันระหว่างแบคทีเรียชนิดดีและชนิดไม่ดีภายในช่องคลอดจึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
BV เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บ คัน และตกขาวมีกลิ่นเหม็น ทว่าสาวๆ ที่เป็นโรคนี้มักจะไม่รู้ตัวว่าตนกำลังมีภาวะดังกล่าว และนั่นไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย เพราะอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณบอกว่ากำลังมีบางอย่างผิดปกติ เมื่อสาวๆ ไม่รู้ตัวว่าตนกำลังเป็นก็จะไม่ได้รับการรักษา แม้ BV จะไม่ได้เป็นโรคที่รุนแรงแต่หากไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้
BV เป็นอาการติดเชื้อที่มักเกิดขึ้นได้กับสาวๆ วัยรุ่น แม้จะไม่ได้นับว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นภายในช่องคลอดก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคอื่นได้หากมีการร่วมเพศเกิดขึ้น
สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
โดยปกติแล้วในร่างกายและช่องคลอดของคุณสาวๆ จะมีแบคทีเรียชนิดดีจำนวนหนึ่งอยู่แล้วซึ่งมีจำนวนมากกว่าแบคทีเรียชนิดไม่ดี แต่หากความสมดุลดังกล่าวมีความผิดปกติที่อาจเกิดจากการล้างสวนช่องคลอด นั่นอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะ BV ได้
แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะ BV แต่พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
- การสวนล้างช่องคลอด
- การเปลี่ยนคู่นอนใหม่หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
- การสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้ออาจมาจากสาเหตุอื่นๆ ด้วย เช่น ติดเชื้อจากการใช้ฝารองนั่งชักโครกที่ไม่สะอาด การใช้ผ้าปูที่นอนหรือผ้าขนหนูร่วมกับผู้อื่น หรือจากสระว่ายน้ำ เป็นต้น
แล้วจะทราบได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อ
เด็กสาวหลายคนอาจไม่ได้สังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของภาวะ BV
- ตกขาวมีสีที่แปลกไป คือมีสีขาวขุ่นหรือสีเทา มีลักษณะเหนียวข้นและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือนหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- รู้สึกปวดแสบในขณะปัสสาวะ
- มีอาการคันบริเวณช่องคลอดทั้งด้านในและภายนอกรอบๆ ช่องคลอด
จริงๆ แล้วการมีตกขาวนั้นเป็นเรื่องปกติและตกขาวจะเกิดขึ้นช่วงระหว่างการมีประจำเดือน แต่หากคุณสังเกตได้ว่ามีตกขาวหรืออาการอื่นๆ เกี่ยวกับช่องคลอดที่ดูไม่ปกติ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ
จะเป็นอย่างไรบ้างเมื่อพบแพทย์
เมื่อพบแพทย์ แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยอาการด้วยการซักประวัติทางสุขภาพและอาการที่คุณเป็น จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกาย โดยการเก็บตัวอย่างของเหลวบริเวณช่องคลอดและนำไปตรวจในแล็บทดสอบ ซึ่งการตรวจหาเชื้อไม่จำเป็นต้องตรวจภายในเสมอไป
การรักษา
การรักษาโดยปกตินั้นแพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้คุณ ไม่ว่าจะเป็นแบบเม็ด แบบครีมทา และแบบสอด และเนื่องจากภาวะนี้อาจกลับมาเป็นใหม่ได้ ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะมากกว่า 1 ชุด แม้อาการของคุณจะดีขึ้นจากการใช้ยาแล้วก็ตาม แต่คุณยังต้องทานหรือใช้ยานั้นๆ ให้หมด
แพทย์หรือพยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิดมีผลต่อการใช้ถุงยางอนามัยและแผ่นคุมกำเนิด แม้การรักษาจะเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดจะมีข้อห้ามเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ แนะนำให้สอบถามและขอข้อมูลการใช้ยาอย่างละเอียดจากแพทย์
ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียสามารถป้องกันได้หรือไม่
ภาวะนี้เป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ ทว่าเราสามารถลดความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะเป็นลงได้
- พยายามไม่ล้างสวนช่องคลอด
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
- หากคุณตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ คุณต้องมีการป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยและต้องไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการของ BV จะหายไปได้เองโดยไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม แต่หากไม่มีการรักษา BV สามารถพัฒนาให้กลายเป็นโรคหรือมีภาวะอื่นๆ ตามมาได้ เช่น
- เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ – หญิงที่มีภาวะ BV อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม หนองในเทียม หนองในแท้ หรือติดเชื้อ HIV ได้
- เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ – หากภาวะ BV ไม่ได้รับการรักษา หญิงสาวอาจพบความผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การติดเชื้อ และอาจมีภาวะแท้งคุกคาม เป็นต้น
การติดเชื้อที่เกิดขึ้นอย่างภาวะ BV นี้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณสาวๆ ที่มีเพศสัมพันธ์จำเป็นต้องได้รับการตรวจภายในและตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แม้คุณจะมั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อ แต่แพทย์เท่านั้นที่จะบอกคุณได้ว่าคุณมีการติดเชื้อหรือไม่และหากมีการติดเชื้อ แพทย์ก็จะทำการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองต่อไป
ที่มา : http://kidshealth.org/en/teens/bv.html
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย คืออะไร
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดและเกิดการอักเสบต่อมา พบได้บ่อยมากแม้จะไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
สาเหตุ
เกิดจากการเสียสมดุลของแบคทีเรียในบริเวณช่องคลอดโดยที่แบคทีเรียชนิดแลคโตบาซิไล (Lactobacilli) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียไม่ดีที่สามารถก่อโรคในช่องคลอดได้มีจำวนลดลง จำนวนแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องคลอดได้จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนของแบคทีเรียชนิดดีและชนิดไม่ดีภายในช่องคลอดไม่สมดุลกันจึงทำให้เกิดการอักเสบตามมา
อาการ
อาการมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงอักเสบรุนแรง บางคนอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ หรือเป็นๆ หายๆ หากไม่ทำการรักษา อาการที่พบได้ ได้แก่ ตกขาวมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ ปัสสาวะแสบขัด ช่องคลอดอักเสบ รู้สึกเจ็บหรือปวดช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้จากการนำตกขาวหรือสาคัดหลั่งในช่องคลอดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
สามารถรักษาหายขาดได้ โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ มีทั้งยาฉีด ยากิน ยาสอด หรือยาทา อาการมักจะดีขึ้นภายใน 5-7 วัน และแพทย์จะทำการนัดเพื่อติดตามอาการและผลการรักษาอีกครั้ง
การป้องกัน
- การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- ไม่สวนล้างบ่อยจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือผ้าอนามัยที่มีน้ำหอม
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ