294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

ตรวจ HIV รีวิวความรู้สำหรับการตรวจเอชไอวี (HIV test)

HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวี แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันพบว่ามีเชื้อชนิดนี้มากกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดหูดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ เชื้อ HPV บางสายพันธุ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น

อาการของโรคติดเชื้อเอชพีวี

ผู้ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ก่อนที่จะเกิดหูดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีหูดขึ้นอาจมีลักษณะของหูดที่ปรากฏแตกต่างกันตามสายพันธุ์ของไวรัส ดังนี้

  • หูดชนิดทั่วไป มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ที่สัมผัสแล้วรู้สึกขรุขระ อาจมีสีเนื้อ สีขาว สีชมพู หรือสีน้ำตาลอ่อน มักขึ้นตามมือ นิ้วมือ หรือข้อศอก ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจสร้างความเจ็บปวดได้ในบางครั้ง และผิวหนังบริเวณที่เกิดหูดอาจบาดเจ็บหรือมีเลือดออกได้ง่ายกว่าปกติ
  • หูดชนิดแบนราบ มีขนาดเล็ก พื้นผิวเรียบ สีของหูดเข้มกว่าสีผิวปกติและนูนขึ้นมาจากผิวหนังเล็กน้อย เกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย หากเป็นเด็กมักพบตามใบหน้า ในผู้หญิงมักเกิดบริเวณขา ส่วนผู้ชายจะพบได้บ่อยบริเวณเครา
  • หูดฝ่าเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง สัมผัสแล้วรู้สึกหยาบ มักขึ้นบริเวณส้นเท้าหรือเนินปลายเท้า และทำให้รู้สึกเจ็บในระหว่างยืนหรือเดิน
  • หูดอวัยวะเพศ หรือเรียกว่าหูดหงอนไก่เป็นติ่งเนื้อลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศชาย และทวารหนัก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจทำให้รู้สึกคัน

ทั้งนี้ การติดเชื้อ HPV ที่บริเวณปากมดลูกจากการมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการปรากฏเมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามไปแล้ว ทางที่ดีจึงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เพื่อให้สามารถพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

นอกจากนั้นการติดเชื้อ HPV ยังอาจก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้เช่นกัน ได้แก่ มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งช่องปากและลำคอส่วนบน ซึ่งล้วนไม่มีอาการบ่งบอก จนกว่าจะเข้าสู่ระยะลุกลาม บางรายอาจเกิดหูดหงอนไก่บริเวณทางเดินหายใจ หรือเกิดเยื่อบาง ๆ ภายในกล่องเสียงหลังจากติดเชื้อ 2-3 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีเสียงแหบ

สาเหตุของโรคติดเชื้อเอชพีวี

โรคติดเชื้อ HPV มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน และสามารถแพร่ผ่านรอยแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หากมีการสัมผัสผิวหนังหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย แม้กระทั่งในช่วงที่ผู้ติดเชื้อยังไม่แสดงอาการก็ตาม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อสู่บุตรระหว่างการคลอดได้ แต่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย นอกจากนี้ ปัจจัยบางอย่างอาจส่งผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ยิ่งขึ้น ได้แก่

    • เด็กและวัยรุ่น โดยหูดทั่วไปมักพบได้มากในวัยเด็ก ส่วนหูดหงอนไก่มักพบในเด็กวัยเจริญพันธ์ุมากกว่าคนช่วงอายุอื่น
    • หญิงและชายที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
    • มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง
    • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น
    • สัมผัสหูดหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโดยไม่สวมถุงมือเพื่อป้องกัน
    • อยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชพีวี

หากผู้ป่วยมีหูดขึ้นตามผิวหนังและสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แพทย์สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจดูลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติได้ทันที แต่ในรายที่ไม่มีหูดขึ้นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้

    • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Test) แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศ์
    • การตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี (HPV DNA Test) คือการนำตัวอย่างเซลล์บริเวณอวัยวะเพศไปตรวจหาเชื้อเอชพีวีโดยตรง วิธีนี้นำมาใช้วินิจฉัยสายพันธุ์ของเชื้อได้เช่นกัน
    • การตรวจปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (Colposcopy) แพทย์จะสอดกล้องคอลโปสโคปขนาดเล็กที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ
    • การทดสอบด้วยกรดอะซิติก (Acetic Acid Solution Test) สารละลายกรดอะซิติกจะทำปฏิกิริยากับเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติและเปลี่ยนบริเวณดังกล่าวให้เป็นสีขาว ซึ่งง่ายต่อการสังเกตเห็น

การรักษาโรคติดเชื้อเอชพีวี

ปัจจุบันการติดเชื้อ HPV ไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะค่อย ๆ กำจัดเชื้อออกไปเอง ส่วนการรักษาความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็งหรือหูด จะมีวิธีการแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการที่พบ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี ซึ่งการตรวจพบและเข้ารับการรักษาตั้งแต่ในขณะที่มะเร็งยังไม่ลุกลามจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่มีหูดขึ้น แพทย์มักแนะนำให้ใช้ยา ดังนี้

    • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) เป็นยาสำหรับทาภายนอกที่ใช้รักษาหูดชนิดทั่วไป มีสรรพคุณช่วยให้ชั้นผิวหนังบริเวณที่เกิดหูดค่อย ๆ หลุดลอก แต่ยานี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้รู้สึกระคายเคืองผิวและไม่ควรนำมาใช้กับใบหน้า
    • ยาโพโดฟิลอก (Podofilox) มีสรรพคุณช่วยทำลายเนื้อเยื่อของหูด มักใช้กับหูดบริเวณอวัยวะเพศยานี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้รู้สึกเจ็บปวดและคันบริเวณผิวหนังที่ทายา
    • ยาอิมิควิโมด (Imiquimod) มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเร่งกำจัดเชื้อ HPV แต่อาจส่งผลให้ผิวหนังบริเวณที่ทายาเกิดอาการบวมแดงได้
    • กรดไตรคลอโรอะซีติค (Trichloroacetic Acid) มักใช้สำหรับกำจัดหูดบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรืออวัยวะเพศ และอาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการระคายเคืองผิว

ทั้งนี้ หากการใช้ยาไม่ช่วยให้หูดยุบ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่น ได้แก่ การผ่าตัดหูด การใช้เลเซอร์ การจี้ด้วยความเย็น การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยการใช้ยาหรือกำจัดหูดด้วยวิธีเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัส HPV ให้หมดไป ผู้ป่วยจึงอาจกลับมาเป็นหูดซ้ำได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อเอชพีวี

นอกจากการติดเชื้อ HPV จะทำให้เกิดหูดหรือมะเร็งบางชนิด ผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดิมซ้ำจะเสี่ยงเกิดรอยโรคก่อนเกิดมะเร็ง ซึ่งสามารถกลายเป็นมะเร็งได้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีหูดขนาดใหญ่บริเวณอวัยวะเพศจนไปปิดกั้นช่องคลอดอาจคลอดบุตรยาก นอกจากนี้ เชื้อ HPV ที่อยู่ในร่างกายของมารดาอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เสี่ยงเกิดเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงบริเวณกล่องเสียง ทว่าเกิดขึ้นได้น้อยมาก

การป้องกันโรคติดเชื้อเอชพีวี

แพทย์มักแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 9-26 ปี ฉีดวัคซีน HPV ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 4 ชนิด และแนะนำให้ผู้หญิงอายุ 21-65 ปี ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพียงไม่กี่ข้อดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันการติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อได้

    • สวมรองเท้าเมื่ออยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น สระว่ายน้ำสาธารณะ ห้องอาบน้ำรวม เป็นต้น
    • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
    • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการสัมผัสกับเชื้อบริเวณอวัยวะเพศโดยตรง แต่วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสและอาจสะสมอยู่ตามบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้ผู้ป่วยที่มีหูดตามร่างกายให้หลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาหูด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น

ที่มา : https://www.pobpad.com/hpv

หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ซึ่งมีมากกว่า 40 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ 16,18

HPV สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงผ่านทางผิวหนังและเยื่อบุผิว เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย

HPV ทำให้เกิดติ่งเนื้อผิวขรุขระ ลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ไม่คัน ไม่ระคายเคืองสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถขึ้นได้ที่องคชาติ หนังหุ้มปลาย ทวารหนัก ช่องคลอด ปากมดลูก หากไม่ทำการรักษาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเกิดมะเร็งตามมา ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งองคชาติ เป็นต้น

หูดหงอนไก่สามารถวินิจฉัยได้เบื้องต้นจากการตรวจโดยแพทย์ โดยการติ่งเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับขนาด จำนวน และตำแหน่งที่เป็นหูด

  1. การทา Podophyllin 25%
  2. การทา TCA
  3. การทา Imiquimod 5%
  4. การผ่าตัด เช่น cryotherapy, electrosurgery
  1. การฉีดวัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งที่เกิดจาก HPV ได้แล้ว (ป้องกันได้ 4 สายพันธ์คือ 6,11,16,18)
  2. การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
Make Appointment

Relate content :

ฉีดวัคซีนงูสวัดที่ glove clinic

งูสวัดคือไวรัสชนิดหนึ่ง (Herpes zoster) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับอีสุกอีใส (Varicella zoster) เมื่อเราติดเชื้อไวรัสอีสุกใสในวัยเด็กแล้ว ไวรัสสามารถที่จะหลบซ่อนได้ในร่างกายเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่งเมื่อร่างกายอ่อนแอ ไวรัสนั้นจึงออกมาทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำใส ปวดแสบร้อนตามบริเวณที่เส้นประสาทต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเรียกกันว่างูสวัด . ไวรัสงูสวัดสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อของเส้นประสาทตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาการของงูสวัดนั้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแสบร้อนนำมาก่อน โดยอาการดังกล่าวก็คืออาการเส้นประสาทอักเสบจากไวรัสงูสวัดนั่นเอง . หลังจากอาการปวดแสบร้อน ก็จะมีตุ่มน้ำใสขึ้นตรงบริเวณที่ปวด ระยะนี้เชื้อสามารถแพร่กระจายให้ผู้อื่นได้ โดยถ้าผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสทันเวลา ก็จะทำให้ตุ่มน้ำขึ้นไม่มาก และสามารถลดระยะเวลาของอาการปวดได้อีกด้วย โดยอาการปวดเส้นประสาทหลังติดเชื้อไวรัสงูสวัดนั้นสามารถเป็นเรื้อรัง และจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดปลายประสาทในการรักษาเป็นเวลานานจนกว่าอาการจะดีขึ้นได้ . วัคซีนงูสวัด (Shingrix) สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถป้องกันการปวดปลายประสาทที่เกิดหลังการติดเชื้องูสวัดได้อีกด้วย โดยประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนงูสวัด (Shingrix) นั้นสูงอย่างน้อย 90 % และระดับภูมิคุ้มกันต่องูสวัดหลังฉีดวัคซีนจะอยู่ไปนานอย่างน้อย 7 ปีหลังจากที่ฉีด . คำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ได้ตั้งแต่เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัด (Shingrix) ในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรังที่อาจทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อได้ง่าย โดยการฉีดวัคซีนงูสวัด…

ทอนซิลอักเสบจากเริม

ทอนซิลอักเสบจากเริม เริมหรือ herpes simplex เป็นไวรัสที่ติดต่อได้จากการการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งโดยทั่วไปผู้ที่มีเชื้อเริมมักจะไม่มีอาการ และไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อ และอาจมีตุ่มน้ำใสแตกเป็นแผลเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ อาการที่พบบ่อยคือตุ่มน้ำมาที่บริเวณริมฝีปาก หรือที่บริเวณอวัยวะเพศ.โดยในรายที่รับเชื้อเริมจากออรัลเซ็กส์ ก็อาจจะทำให้เกิดแผลที่ทอนซิล มีอาการเหมือนทอนซิลอักเสบจนเป็นหนองได้ ตัวอย่างทอนซิลในภาพนี้ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้และเจ็บคอมากหลังจากมีเพศสัมพันธ์มา 4-5 วัน โดยได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจากหมอหูคอจมูกมาหนึ่งสัปดาห์แล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้มา swab PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ glove clinic ผลตรวจพบเชื้อ Herpes simplex virus type 2.เชื้อเริมสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส ในรายนี้หลังกินยาต้านไวรัสแล้วพบว่าหนองที่คอลดลงอย่างรวดเร็วหลังกินยาไปเพียง 2-3 วัน (ดังภาพ) รวมทั้งอาการเจ็บคอดีขึ้นมากเป็นลำดับ.การตรวจ PCR หาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นการตรวจที่แม่นยำ และสามารถตรวจหาเชื้อก่อโรคได้หลายเชื้อในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหนองในแท้, หนองในเทียม, เริม, รวมถึงเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ โดยการตรวจใช้เวลา 1-2 วันจึงจะได้ผล และสามารถตรวจได้แม้จะไม่มีอาการก็ตาม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 092-414-9254 หรือ Line Official @gloveclinic (มีแอดข้างหน้า)

ตรวจ HIV รีวิวความรู้สำหรับการตรวจเอชไอวี (HIV test)

เอชไอวีคือไวรัสที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์, การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, และการติดจากแม่สู่ลูก เมื่อติดเชื้อไวรัส HIV ไวรัสจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง และติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ง่าย

ปีนี้มีคนไข้ป่วยด้วยไข้เลือดออกมากกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา

เนื่องจากว่าผู้คนกลับมาใช้ชีวิตปกติ มีการเดินทาง จึงพบการระบาดมากขึ้น โดยจากสถิติของกรมควบคุมโรคพบว่ามีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกในประเทศไทยเกินกว่า 60,000 รายไปแล้วทั้งปี 2566 ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรุนแรงได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นซ้ำครั้งที่ 2 จะมีโอกาสเกิดภาวะช๊อคและเสียชีวิตได้มากขึ้น (โอกาสเสียชีวิตอยู่ราว ๆ 1:1,000) วัคซีนไข้เลือดออกรุ่นใหม่สามารถครอบคลุมได้ทั้ง 4 สายพันธุ์และทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ถึง 80% และลดโอกาสการนอนโรงพยาบาลได้ถึง 90% นอกจากนี้ยังสามารถฉีดได้ทั้งในคนที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน (วัคซีนไข้เลือดออกรุ่นเก่าไม่ควรฉีดในคนที่ยังไม่เคยเป็นไข้เลือดออก) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องวัคซีนไข้เลือดออกได้ที่ 092-414-9254, Line Official @gloveclinic (มีแอดข้างหน้า)

HIV แต่กำเนิด

ประเด็นร้อนที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ที่มีข้อความของนักศึกษาหญิงเปิดเผยว่าตัวเธอเองได้มีเพศสัมพันธ์แบบ one night stand เวลาไปเที่ยวกลางคืนบ่อยครั้ง และได้บอกความจริงว่าเธอเองมีเชื้อ HIV

อาการของเอดส์เป็นอย่างไร ทำความรู้จักกับเอดส์

แท้จริงแล้วเอดส์ไม่ใช่โรค หากแต่คือระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV ซึ่ง HIV นั่นเองคือไวรัสที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save