Post-Exposure Prophylaxis (PEP)

ยาเป๊ป หรือ ยา PEP ย่อมาจาก Post-exposure prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังจากมีความเสี่ยงมาภายใน 72 ชั่วโมง ยาเป๊ปใช้เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรนำมากินประจำเพื่อป้องกัน HIV และไม่ควรใช้ยาแทนการสวมถุงยางอนามัยเช่นกัน เว้นแต่จะมีความเสี่ยงตลอดก็ควรกินยา PrEP แทนจะดีกว่า

1. มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HIV หรือไม่ทราบผลเลือด
2. มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3. ถูกข่มขืนกระทำชำเรา
4. บุคลากรทางการแพทย์ที่โดนเข็มตำ สัมผัสสารคัดหลั่ง

ควรรีบกินหลังจากสัมผัสความเสี่ยงมาภายใน 72 ชั่วโมง ยิ่งเริ่มกินเร็วเท่าไหร่ ยิ่งป้องกันมาก

ควรกินต่อเนื่องกันไป 28 วัน และต้องทำการตรวจเลือดซ้ำอีกครั้งหลังกินยาเป๊ป

หากกินยา PEP อย่างถูกต้องตามแพทย์สั่ง จะทำให้ประสิทธิภาพป้องกันได้เกือบ 100% ในช่วงที่ยังกินยา PEP อยู่นั้น หากมีเพศสัมพันธ์ก็ควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย

สำหรับบางคนอาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว เหนื่อยเพลีย แต่มักจะดีขึ้นและหายไปภายในไม่กี่วัน จะมีอาการแค่ช่วงแรกที่เริ่มกินยา
นอกจากนี้ ยาเป๊ปอาจมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นได้ ดังนั้นหากมียาอื่นที่กินอยู่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยก่อนรับยาเป๊ป

Reference : https://aidsinfo.nih.gov/understanding-hiv-aids/fact-sheets/20/87/post-exposure-prophylaxis–pep-

Relate content :

6 คำถามเกี่ยวกับ HPV Vaccine (วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่)
Mr. Lek Charnwit Pakam: A Teen From A Thai Northern City To Professional HIV and STDs Counselor
พี่เล็ก ชาญวิทย์ ปาคำ จากวัยรุ่นเมืองเหนือสู่ผู้ให้คำปรึกษาด้านเอชไอวี
19 Shingles vaccine
วัคซีนงูสวัด / Shingles vaccine
18 Pneumococcal vaccine
วัคซีนปอดอักเสบ Prevnar13 + Pneumovax23
17 Flu vaccine
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Vaxigrip

Tag :