294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok

HPV vaccine

สาเหตุหลักที่ทำให้ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilloma virus infection: HPV) ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ ผู้ชายก็สามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้เช่นกันและส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาด้วย แต่ปัจจุบันเราสามารถลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ง่ายๆ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)

สำหรับผู้หญิง เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่ช่องคลอด ปากช่องคลอด ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่ ทั้งยังเชื่อมโยงกับการเกิดโรคหัวใจด้วย

สำหรับผู้ชาย การติดเชื้อ HPV อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่

มะเร็งปากมดลูกส่วนมากจะพบในผู้หญิงวัย 30-55 ปี ผู้ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้มักจะไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้นนานนับปีทำให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว กระทั่งมีเลือดออก มีตกขาวผิดปกติ อวัยวะเพศแสบร้อน มีก้อนเนื้อขนาดใหญ่อุดกั้นบริเวณท่อปัสสาวะ ช่องคลอด หรือทวารหนัก ทำให้มีอาการคันและปวดตามมา 

วัคซีน 4 สายพันธุ์ (Gardasil) ป้องกันทั้งเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 16, 18 และสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ เดิมฉีดได้ในช่วงอายุ 9-26 ปี แต่ปัจจุบันมีการศึกษารับรองว่าสามารถฉีดได้จนถึงอายุ 45 ปีแล้ว ส่วนผู้ชายฉีดได้ในช่วงอายุ 9-26 ปี วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11 เพิ่มเติม ซึ่งสองสายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้ด้วย กำหนดฉีดวัคซีนมีดังนี้

อายุ 9-14 ปี ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อแบบ 2 เข็ม : ฉีดเข็มแรกทันที, ฉีดเข็มที่ 2 นับจากเข็มแรก 6-12 เดือน

อายุ 15 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1-2 และ 6

วัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากฉีดครบตามตางรางและหากฉีดตั้งแต่อายุยังน้อย หรือฉีดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก วัคซีนนี้จะช่วยป้องกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน แต่หากมีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้เช่นกัน เพียงแต่ประสิทธิภาพอาจลดลง

หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังสามารถฉีดวัคซีนได้ แต่วัคซีนนั้นจะป้องกันเฉพาะเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่ติดเท่านั้น และวัคซีนไม่สามารถรักษาหรือทำลายเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ตรวจพบแล้วได้

วัคซีน HPV ไม่สามารถป้องกันไวรัส HPV ได้ทุกสายพันธุ์ ดังนั้นแม้จะได้รับวัคซีนครบก็เป็นเพียงแค่การลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ไม่ใช่ป้องกันการเกิดโรค 100% ดังนั้นควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือแปปสเมียร์ ตามปกติเช่นเดิม ที่สำคัญถึงจะฉีดวัคซีนแล้วก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ ไม่ใช้ถุงยางอนามัยเพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ 

ใน 1 คอร์ส ต้องฉีด 3 เข็ม และไม่จำเป็นต้องฉีดซ้ำ หลังจากนั้นวัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีนที่เลือกฉีด ซึ่งช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคได้ แต่ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค 100% หลังฉีดจึงยังควรตรวจภายในตามปกติ

ผลข้างเคียงจากการรับวัคซีน HPV นั้นมีน้อยมาก โดยอาจมีอาการบวมบวม หรือแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน เป็นไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้ออาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วคราวและสามารถหายเองได้ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลมหลังจากได้รับวัคซีน แต่ก็ถือว่า มีโอกาสน้อยมาก อย่างไรก็ดี คุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นลมได้โดยการนั่งพักประมาณ 15 นาทีหลังจากการรับวัคซีน

ที่มา : https://www.honestdocs.co/vaccine-against-cervical-cancer-hpv

Make Appointment

Relate content :

การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง

อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ

ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน

ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน

ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ

ยาต้าน HIV: ก้าวสำคัญสู่ชีวิตที่มีคุณภาพ ยาต้าน HIV หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี คือกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยาเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทำไมต้องใช้ยาต้าน HIV ยาต้าน HIV ทำงานอย่างไร ยาต้าน HIV ทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ไวรัสเอชไอวีต้องการในการเพิ่มจำนวนตัวเอง เมื่อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ประเภทของยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV การเลือกใช้ยาต้าน HIV ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น: การใช้ยาต้าน HIV ร่วมกับยาอื่นๆ ยาต้าน HIV บางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอยู่ ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดก่อนเริ่มรับประทานยาต้าน HIV ผลข้างเคียงของยาต้าน HIV ยาต้าน HIV อาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหายไปเอง หรือสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือเปลี่ยนชนิดยา การใช้ยาต้าน HIV ชีวิตหลังการเริ่มใช้ยาต้าน HIV การใช้ยาต้าน HIV…

โรคหนองใน: ภัยเงียบที่คุณไม่ควรเพิกเฉย

โรคหนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะเพศ ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก

ตรวจ HIV: ก้าวแรกสู่สุขภาพที่ดี

HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ การตรวจ HIV เป็นวิธีที่ง่ายและไม่เจ็บปวด สามารถช่วยให้คุณรู้สถานะสุขภาพของคุณได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำไมต้องตรวจ HIV? วิธีการตรวจ HIV ผลการตรวจ HIV หากผลการตรวจ HIV เป็นบวก การรู้ว่าผลการตรวจ HIV เป็นบวก อาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ขอให้คุณรู้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว และมีทางออกเสมอ การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเริ่มการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยืดอายุขัยได้ เมื่อได้รับผลตรวจ HIV เป็นบวก คุณควร: การรักษา HIV ปัจจุบันมียาต้านไวรัส HIV ที่สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพได้ ยาต้านไวรัส HIV จะช่วยลดปริมาณไวรัสในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตหลังการตรวจพบ HIV การใช้ชีวิตกับ HIV อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพที่ดี คุณสามารถมีชีวิตที่ปกติได้ การดูแลสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ติดเชื้อ…

Tag :

We use cookies to improve performance. and good experience using your website. You can study details at Privacy Policy and can manage your own privacy by clicking on Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning them on/off. Cookies of each type are available on request, except essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    These types of cookies are essential for the website to function. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable cookies in our website system.

Save