294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
วัคซีนปอดอักเสบ Prevnar13 + Pneumovax23

โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลันที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่พักฟื้นในโรงพยาบาล โรคปอดอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ที่พบมากที่สุดคือการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae หรือเรียกอีกอย่างว่าเชื้อ Pneumococcus แบคทีเรียชนิดนี้นอกจากจะทำเกิดโรคปอดอักเสบแล้ว อาจลุกลามจนเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือดได้
วัคซีนปอดอักเสบคืออะไร?
เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคปอดอักเสบที่มีมากกว่า 90 สายพันธุ์ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนปอดอักเสบในเด็กเล็กเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และยังกำหนดให้วัคซีนชนิดนี้เป็นหนึ่งในบัญชียาจำเป็นขององค์การอนามัยโลกอีกด้วย
วัคซีนปอดอักเสบมีกี่ชนิด
- วัคซีน PCV (Pneumococcal conjugate vaccine) เป็นการนำเชื้อแบคทีเรียมาจับกับโปรตีนที่เป็นตัวนำส่ง ตัวที่นิยมใช้คือ PCV 13 ซึ่งครอบคลุมการป้องกันเชื้อpneumococcus13 สายพันธุ์ สามารถฉีดได้ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
- วัคซีน PPSV (Pneumococcal polysaccharide vaccine) จะใช้คาร์โบไฮเดรตขนาดใหญ่เป็นตัวนำส่ง ทำให้มีความจำเพาะ และมีประสิทธิภาพสูง ตัวที่นิยมใช้คือ PPSV 23 ที่สามารถป้องกันเชื้อได้ 23 สายพันธุ์ ส่วนมากแนะนำให้ฉีดในผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ใครบ้างมีความเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบ
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคปอดอักเสบลุกลาม
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อHIVผู้ตัดม้ามออกแล้ว ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไตโรคหัวใจโรคตับ โรคเบาหวาน โรคปอด น้ำในสมองรั่วและไขสันหลังรั่ว เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ผู้ที่ได้รับการฝังเครื่องมือแพทย์ที่หูชั้นใน หรือฝังประสาทหูเทียม
การฉีดวัคซีนปอดอักเสบ
- สำหรับเด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีความเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบควรได้รับวัคซีน PCV จำนวน 3 เข็ม ในช่วงปีแรกหลังคลอด คือ ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน จากนั้นจึงฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็มเมื่ออายุ 12 เดือน
- สำหรับผู้ที่มีอายุ 2 ปี ขึ้นไป และมีความเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบควรฉีดวัคซีน PCV 1-2 เข็ม (ห่างกัน 8 สัปดาห์) และฉีดกระตุ้นอีก 1 เข็ม โดยห่างจากเข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์
- สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งชนิด PCV และ PPSV โดยฉีดวัคซีน PCV ก่อน 1 เข็ม ตามด้วย PPSV โดยห่างกัน 12 เดือน
การฉีดวัคซีนปอดอักเสบร่วมกับวัคซีนอื่น
หากต้องฉีดวัคซีนปอดอักเสบทั้ง 2 ชนิด คือ PCV และ PPCV ห้ามฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดนี้พร้อมกันหรือภายในวันเดียวกัน ควรฉีดวัคซีน PCV ก่อนแล้วจึงตามด้วย PPSV ในวันอื่น ห่างกันอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพราะจากการศึกษาพบว่าการฉีด PCV ก่อน จะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคปอดอักเสบสูงกว่า
การฉีดวัคซีนปอดอักเสบร่วมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- ในเด็ก อาจทำให้เกิดไข้สูงจนเกิดอาการชักได้ (febrile seizures)
- ในผู้ใหญ่ การฉีดร่วมกันสามารถทำได้ แต่จากการศึกษาในผู้ที่อายุสูงกว่า 65 ปี พบว่าการฉีดร่วมกันหรือภายในวันเดียวกันทำให้ภูมิคุ้มกันต่อทั้งเชื้อปอดอักเสบและเชื้อไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ลดลง
ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงการให้วัคซีนปอดอักเสบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน หรือในวันเดียวกัน เพื่อประสิทธิผลสูงสุดของวัคซีน และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนปอดอักเสบ
วัคซีนปอดอักเสบอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับวัคซีนอื่นๆ เช่น มีอาการปวด บวม บริเวณผิวหนังที่ฉีด มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้สามารถรับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้ผู้รับวัคซีนบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น แพ้วัคซีน มีผื่นขึ้นตามตัว ใบหน้าและตาบวม หายใจลำบาก ซึ่งพบได้น้อยมาก แต่หากเกิดอาการเหล่านี้ให้รีบมาพบแพทย์โดยด่วน
ใครไม่ควรฉีดวัคซีนปอดอักเสบ?
- ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือมีปฏิกิริยารุนแรงต่อวัคซีนปอดอักเสบในการฉีดครั้งก่อน
- ผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
- ผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหาย
ภูมิคุ้มกันปอดอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนอยู่ได้นานแค่ไหน?
วัคซีนปอดอักเสบชนิด PCV เป็นวัคซีนที่ตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในผู้สูงอายุ และระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงภายหลังการฉีดวัคซีนประมาณ 5-10 ปี
ที่มา : https://www.honestdocs.co/vaccines-for-pneumonia-vaccination-against-disease-injectable-at-all-ages
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ