294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
อาการ HIV จากการติดเชื้อไวรัส

HIV คืออะไรและมีอาการอย่างไร
HIV (human immunodeficiency virus) คือไวรัสที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่ภาวะเอดส์ (AIDS หรือ acquired immunodeficiency syndrome) ซึ่งปัจจุบันไม่มีการรักษา HIV ให้หายขาดได้ (การรักษาหายขาดยังอยู่ในการทดลอง) แต่สามารถทานยาต้านไวรัสควบคุมไวรัสในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่ต่ำจนตรวจไม่พบ (undetectable) และสามารถใช้ขีวิตที่สุขภาพที่ดีเช่นคนทั่วไปและไม่แพร่เชื้อให้คู่ของตัวเองได้
อาการ HIV ส่งผลต่อร่างกายตามระยะการติดเชื้อต่างๆ
การติดเชื้อไวรัส HIV สามารถทำให้เกิดอาการให้หลายระบบของร่างกาย ตัวไวรัส HIV เองนั้นจะมีความจำเพาะต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์ที่ควบคุมภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเมื่อเซลล์ CD4 ลดลง จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งอาจมีลักษณะจำเพาะ เช่น การติดเชื้อราในช่องปาก (oral candidiasis), ปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา (pneumocystis pneumonia) , หรือวัณโรคแบบแพร่กระจายทั่วตัว (disseminated tuberculosis) เป็นต้น โดยโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมามักจะเจอเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเอดส์
ในบทความนี้เราจะขอพูดถึงอาการของ HIV ก่อน และจะขอแยกอาการของภาวะเอดส์ไปอธิบายในอีกบทความ
อาการ HIV เบื้องต้น(acute HIV infection)

ในระยะแรกที่ติดเชื้อ (ภายใน 2-4 สัปดาห์แรก) ส่วนหนึ่งของคนไข้อาจรู้สึกเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือทอนซิลอักเสบ โดยอาจมีไข้, ปวดเมื่อยตัว, เจ็บคอ, ต่อมน้ำเหลืองโต คนไข้บางรายอาจสังเกตว่ามีผื่นร่วมด้วย อาการในช่วงนี้อาจจะหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
ในระยะนี้คนไข้หลายรายอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่, ทอนซิลอักเสบ, จนถึงไข้เลือดออก ดังนั้นถ้าคนไข้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV จึงมีความจำเป็นที่ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจทราบข้อมูลเพื่อการให้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง
อาการ HIV ในระยะติดเชื้อเรื้อรัง (chronic HIV infection)

ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะนี้ ซึ่งบางคนก็อาจจะเรียกว่าระยะที่ไม่แสดงอาการ (asymptomatic HIV infection) ซึ่งแม้ว่าจะไม่แสดงอาการ แต่ไวรัสยังมีการแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องในร่างกาย และยังสามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนได้ด้วย
ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ก็จะไม่ดำเนินไปสู่ระยะเอดส์ ซึ่งระยะติดเชื้อ HIV เรื้อรังนี้สามารถใช้เวลาประมาณ 5-10 ปีกว่าจะกลายเป็นระยะเอดส์โดยขึ้นอยู่กับตัวโรค, โรคร่วม, รวมถึงไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอง
อาการ HIV และโรคที่สามารถเกิดจากการอักเสบที่เกิดจากเชื้อ HIV
ปัจจุบันงานศึกษาวิจัยล้วนต่างสรุปว่าไวรัส HIV นั้นสามารถทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ในร่างกาย ซึ่งการอักเสบเรื้อรังนั้นเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดอุดตัน และยังอาจนำไปสู่โรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย ซึ่งโรคหัวใจหลอดเลือดอุดตันนั้นก็จะมีอาการนำด้วยเจ็บหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายเวลาที่มีกิจกรรม ส่วนมะเร็งบางชนิดที่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าคนทั่วไปก็ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งทวารหนัก, และมะเร็งตับ โดยอาการของโรคมะเร็งแต่ละชนิดก็จะต่างกันไปตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต หรือไข้เป็น ๆ หาย ๆ ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง, เลือดออกจากช่องคลอดหรือทวารหนัก ในรายที่เป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งทวารหนัก, อืดแน่นท้อง หรือเบื่ออาหารและน้ำหนักลด ในรายที่เป็นมะเร็งตับ

โดยคำแนะนำให้เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสำหรับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อนั้นนอกจากจะหวังผลเพื่อช่วยรักษาภูมิคุ้มกันของคนไข้ให้เร็วที่สุดแล้วก็ยังหวังที่จะลดโอกาสเกิดการอักเสบเรื้อรังในร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงในระยะยาวสำหรับการเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือโรคมะเร็งบางชนิดที่กล่าวไป
การตรวจหาเชื้อ HIV

การตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ทำได้ง่ายและได้ผลแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องรอผลนาน อีกทั้งราคาไม่แพงหรือสามารถตรวจได้ฟรีตามหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการรณรงค์ให้ประขาชนเข้าถึงการตรวจ HIV ได้ง่ายขึ้นด้วยตรวจด้วยตัวเองที่บ้าน (HIV Self-Testing)
สรุปอาการ HIV
อาการในระยะแรก หลังรับเชื้อ HIV 2-4 สัปดาห์แรก คนไข้จะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตัว, เจ็บคอ, ต่อมน้ำเหลืองโต หากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อควรตรวจหา HIV เพื่อได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
อาการระยะติดเชื้อเรื้อรัง คนไข้จะไม่แสดงอาการใดๆ ในขณะที่ไวรัสยังแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องและสามารถแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้อีกด้วย ควรรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันการดำเนินโรคไปสู่ระยะเอดส์
Make Appointment





Relate content :

ช่องคลอดอักเสบ: สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเพศสัมพันธ์
กำลังเผชิญกับปัญหาช่องคลอดอักเสบ? บทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ยา PEP (เป๊ป) ราคาแพงไหม
ต้องการยา PEP? บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับยา PEP ตั้งแต่ราคา วิธีการใช้ ไปจนถึงสถานที่หาซื้อ
การรักษา HIV คู่มือสำหรับผู้มีความเสี่ยง
อย่าปล่อยให้ HIV ควบคุมชีวิตคุณ! คลิกอ่านเพื่อเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองและมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพ
ชุดตรวจ HIV ตรวจได้เองที่บ้าน
ชุดตรวจ HIV หรือ HIV self-test เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตนเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวก โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล การตรวจ HIV ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการตรวจได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ยาเพร็พ (PrEP) ป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือ? มาไขข้อข้องใจกัน
ปกป้องตัวเองจาก HIV ด้วยยาเพร็พ (PrEP) เพิ่มความมั่นใจในชีวิตด้วยการป้องกันที่ได้ผล ไขข้อข้องใจโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ