294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
HIV แต่กำเนิด
ประเด็นร้อนที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ที่มีข้อความของนักศึกษาหญิงเปิดเผยว่าตัวเธอเองได้มีเพศสัมพันธ์แบบ one night stand เวลาไปเที่ยวกลางคืนบ่อยครั้ง และได้บอกความจริงว่าเธอเองมีเชื้อ HIV ซึ่งติดมาแต่กำเนิด และแถมเป็นเชื้อดื้อยาเสียด้วย ซึ่งทำให้เกิดกระแสโต้กลับรุนแรงของสังคมต่อพฤติกรรมที่ไม่รับผิดชอบต่อผู้อื่นของตัวเธอเอง
จากประสบการณ์ของเราในการดูแลผู้ป่วย HIV มาเป็นเวลานานเกิน 10 ปี เราขออธิบายข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นหัวข้อดังนี้
- ผู้ป่วย HIV ที่ได้รับเชื้อมาแต่กำเนิดนั้นเป็นกลุ่มคนไข้ที่มักมีอุปสรรคต่อการรักษาค่อนข้างมาก อย่าลืมว่าถ้าเธอติดเชื้อมาแต่กำเนิด แสดงว่าแม่ของตัวเธอก็คือผู้ป่วย HIV เช่นกัน ซึ่งบ่อยครั้งเด็กที่ติดเชื้อ HIV อาจจะโตมาโดยกำพร้าแม่รวมทั้งพ่อ (ในกรณีที่ใครคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตจาก HIV) ซึ่งครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ก็จะทำให้มีปัญหาในการเลี้ยงดู และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจ
. - ผู้ป่วย HIV โดยกำเนิดนั้นต้องได้รับยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็ก ซึ่งยาต้านไวรัสรุ่นที่ใช้เมื่อ 10-20 ปีก่อนนั้นก็เป็นยาที่ยังมีผลข้างเคียงอยู่มาก นอกจากนี้ตัวเด็กเองที่อาจจะไม่มีวินัยในการกินยา พอต้องให้กินยาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะเบื่อ หรือไม่อยากกินยา โดยเฉพาะเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงที่อารมณ์แปรปรวนจากฮอร์โมน ก็ยิ่งจะทำให้มีปัญหาในการกินยาต้านไวรัสให้สม่ำเสมอได้
. - ความไม่สม่ำเสมอนั่นเองในการกินยาต้านไวรัสเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดเชื้อไวรัสดื้อยาได้ เมื่อเกิดเชื้อ HIV ดื้อยา ก็จะนำไปสู่ภูมิคุ้มกันที่แย่ลงจนทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้นและทำให้ร่างกายอ่อนแอ การรักษา HIV ดื้อยาจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสหลายขนานซึ่งจะมีจำนวนเม็ดมากขึ้น และผลข้างเคียงมากขึ้นยิ่งทำให้ผู้ป่วยที่ไม่อยากกินยาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และมีปัญหาในการกินยามากขึ้นไปอีก
. - หลักการป้องกันการติดเชื้อ HIV ที่ดีที่สุดก็คือ ให้คิดเสมือนว่าคู่นอนที่มีเซ็กส์ด้วยนั้นอาจมีเชื้อด้วยก็ได้ (ในกรณีที่ไม่รู้ผลเลือดของอีกฝ่าย) ดังนั้นการป้องกันตัวเองด้วยถุงยางอนามัย หรือการกินยา PrEP นั้นจึงยังเป็นสองวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ซึ่งเราเห็นได้จากสถิติการติดเชื้อ HIV ที่ลดลงในหลายประเทศหลังจากที่ประชาชนสามารถเข้าถึง PrEP ได้มากขึ้น
. - ในข้อความของนักศึกษาหญิงมีกล่าวด้วยว่า การดื่มเหล้าทำให้เกิดเชื้อดื้อยา อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิด ตัวแอลกอฮอล์เองนั้นไม่ได้มีผลอะไรกับยาต้านไวรัส ดังนั้นหากกินยาตรงเวลา และสม่ำเสมอก็ไม่สามารถเกิดเชื้อดื้อยาได้แม้ว่าจะดื่มแอลกอฮอล์ แต่ในทางกลับกั
Make Appointment