294/1 Asia Building (11th Floor), Phyathai, Bangkok
บทความ STD
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ / Thin Prep PAP smear
ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย
Post-Exposure Prophylaxis (PEP)
ยา PEP คืออะไร ยาเป๊ป หรือ ยา PEP ย่อมาจาก Post-exposure prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังจากมีความเสี่ยงมาภายใน 72 ชั่วโมง ยาเป๊ปใช้เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรนำมากินประจำเพื่อป้องกัน HIV และไม่ควรใช้ยาแทนการสวมถุงยางอนามัยเช่นกัน เว้นแต่จะมีความเสี่ยงตลอดก็ควรกินยา PrEP แทนจะดีกว่า ยา PEP เหมาะกับใครบ้าง 1. มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HIV หรือไม่ทราบผลเลือด 2. มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 3. ถูกข่มขืนกระทำชำเรา 4. บุคลากรทางการแพทย์ที่โดนเข็มตำ สัมผัสสารคัดหลั่ง ยา PEP ควรกินเมื่อไหร่ ควรรีบกินหลังจากสัมผัสความเสี่ยงมาภายใน 72 ชั่วโมง ยิ่งเริ่มกินเร็วเท่าไหร่ ยิ่งป้องกันมาก ยา PEP ต้องกินนานแค่ไหน ควรกินต่อเนื่องกันไป 28 วัน และต้องทำการตรวจเลือดซ้ำอีกครั้งหลังกินยาเป๊ป ยา PEP มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน…
ยา PrEP ป้องกันการติดเชื้อ HIV
ยา PrEP คืออะไร ยาเพร๊พ หรือยา PrEP ย่อมาจาก Pre-exposure prophylaxis ซึ่งคือยาที่ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ยาเพร๊พเป็นยาสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ หากมีความเสี่ยง การกินยาเพร๊พจะช่วยป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายได้ โดยแนะนำให้กินวันละเม็ดเพื่อให้ปริมาณยาอยู่ในร่างกายอย่างเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ หากไม่ได้กินยาทุกวันอาจทำให้ระดับยาไม่ถึงระดับที่ป้องกันเชื้อได้ ยา PrEP เหมาะกับใครบ้าง มีคู่นอนที่มีการติดเชื้อ HIVใช้ถุงยางอนามัยไม่สม่ำเสมอเคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีคู่นอนหลายคนมีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเคยมีประวัติกินยา PEP หลายครั้ง ยา PrEP มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ยาเพร๊พจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกินทุกวัน มีหลายรายงานการศึกษาจาก CDC ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันการติด HIV ผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้ถึง 99% และป้องกันผ่านทางเข็มฉีดยาได้ถึง 74% การใช้ถุงยางอนามัยร่วมกันกินยาเพร๊พยิ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภารการป้องกันได้มากขึ้น ยา PrEP มีผลข้างเคียงหรือไม่ สำหรับบางคนอาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว เหนื่อยเพลีย แต่มักจะดีขึ้นและหายไปภายในไม่กี่วัน จะมีอาการแค่ช่วงแรกที่เริ่มกินยา หากต้องการกินยา PrEP ต้องทำอย่างไร การกินยาเพร๊พเป็นเรื่องไม่ยาก…
พยาธิในช่องคลอด / Trichomoniasis
พยาธิในช่องคลอด เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ไวรัสตับอักเสบ เอ (Viral hepatitis A)
ถึงแม้ว่าโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ จะไม่ใช่โรคที่รุนแรงหรือโรคเรื้อรัง แต่ก็เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย
ช่องคลอดอักเสบ / Bacterial vaginosis
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดและเกิดการอักเสบต่อมา พบได้บ่อยมากแม้จะไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
เชื้อราในช่องคลอด / Vaginal candidiasis
เชื้อราในช่องคลอดเป็นอีกโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อราทำให้มีอาการคันและมีตกขาวผิดปกติได้
อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflmmatory disease – PID)
อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflamatory Disease) คือ การติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง บริเวณมดลูก ปีกมดลูก และท่อนำไข่
ยูเรียพลาสมา/ไมโคพลาสมา
เป็นเชื้อแบคทีเรียกลุ่มหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม
โรคเริม / Herpes
โรคเริม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes Simpextype 1, Herpes Simplex type 2
โรคหนองในเทียม / Non-gonococcal infection
หนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่หนองในแท้
โรคหนองในแท้ / Gonorrhea
หนองในแท้ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Neisseria gonorrhea
เอชพีวีและหูดหงอนไก่ / HPV and genital wart / condyloma accuminata
หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ซึ่งมีมากกว่า 40 สายพันธุ์
อาการ HIV จากการติดเชื้อไวรัส
HIV (Human Immunodeficiency Virus) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (AIDS) โดยเชื้อจะไปทำลายเม็ดขาว (CD4 lymphocyte)
ซิฟิลิส / Syphilis
ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Treponema pallidum มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีขนาดเล็กมาก
ไวรัสตับอักเสบบี / Hepatitis B
ตับเป็นอวัยวะสำคัญในการจัดการสารอาหาร, กรองของเสียในเลือด, และช่วยต่อสู้กับภาวะติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบซี / Hepatitis C
ไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นโรคมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV) โดยสามารถติดต่อกันได้ทางเลือด หรือการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้หากไม่ได้ทำการรักษา สามารถทำให้เกิดผลที่รุนแรงต่อตับตามมา โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเรื้อรัง มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาเป็นโรคตับที่รุนแรงหรือมะเร็งตับได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการแพทย์และการรักษาในปัจจุบันที่ทันสมัย อาจสามารถรักษาให้หายได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะสามารถควบคุมอาการและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ อาการของไวรัสตับอักเสบ ซี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี จะไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคนี้เพราะว่าไม่มีอาการแสดงชัดเจน ซึ่งจะพบว่ามีอาการแสดงแล้วก็ต่อเมื่อตับได้รับความเสียหายมากแล้วนั่นเอง ไวรัสตับอักเสบ ซี ระยะเฉียบพลัน มีอาการดังต่อไปนี้ มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อย ที่จะมีอาการแสดงให้เห็นในช่วงระยะ 6 เดือนแรกที่ได้รับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการแสดง อาการนั้น ๆ ก็จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังการติดเชื้อ นอกจากนั้น ในผู้ป่วยบางราย สามารถหายได้เองโดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้เองในระยะเวลาไม่กี่เดือน และผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงเพิ่มเติม นอกจากจะได้รับการติดเชื้ออีกครั้ง ในผู้ป่วยที่ยังมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ในร่างกายเป็นเวลาหลายปี จะพัฒนาเกิดเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี แบบเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี ระยะเรื้อรัง จะไม่แสดงอาการจนกว่าตับจะถูกทำลายอย่างรุนแรงแล้วอาการจึงจะปรากฏ ส่วนมากจะปรากฏหลังจากที่ได้รับการติดเชื้อไปแล้วประมาณ 10 ปี ซึ่งอาการที่พบได้มีดังต่อไปนี้ ในระยะเรื้อรังนี้ หากไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อสามารถทำให้เกิดโรคตับที่รุนแรงได้…